งานวิจัย การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าสําหรับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสกลนคร


การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าสําหรับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสกลนคร

โครงการวิจัยเรื ่องการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตถ ่านอัดแท ่ง เพื ่อผลิตถ ่านอัดแท ่งคุณภาพสูง สําหรับวิสาหกิจชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื ่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตถ ่านอัดแท ่งเพื ่อหา คุณภาพและหาประสิทธิภาพนวัตกรรมกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งและหาจุดคุ้มทุนของนวัตกรรมกระบวนการ ผลิตถ่านอัดแท่ง คณะผู้วิจัยได้แบ่งวิธีการดําเนินงาน โดยเริ่มจากศึกษารายละเอียดของนวัตกรรมกระบวนการผลิตถ่านอัด แท่งที่มีอยู่แล้วและการสอบถามเกษตรกร เพื่อนําข้อมูลไปทําการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิต ถ ่านอัดแท ่งจากนั้นนํานวัตกรรมกระบวนการผลิตถ ่านอัดแท ่งไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ เพื ่อหาคุณภาพและ ประสิทธิภาพของนวัตกรรมกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง คณะผู้จัดทําโครงการวิจัยซึ่งได้เชิญผู้เชี่ยวชาญประเมิน คุณภาพนวัตกรรมกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง จํานวน 6 ท่าน โดยทําการทดลองหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม กระบวนการผลิตถ ่านอัดแท ่งที่พัฒนาขึ้น เพื ่อนําข้อมูลที ่ได้จากการเก็บรวบรวมมาวิเคราะห์หาคุณภาพและ ประสิทธิภาพ จากนั้นทําการวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุนของนวัตกรรมกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง ผลที่ได้พบว่า นวัตกรรมกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมากโดยมีค่าเฉลี่ย เท ่ากับ 4.59 ประสิทธิภาพเครื ่องสับย่อยอเนกประสงค์ภาพรวมเฉลี ่ยเท ่ากับ 91.22 เปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพ เตาเผาถ่านภาพรวมเฉลี่ย 35.55 เปอร์เซ็นต์และประสิทธิภาพเครื่องผสมและอัดถ่านแท่งภาพรวมเฉลี่ย 91.45 เปอร์เซ็นต์ มีจุดคุ้มทุนของเครื่องสับอเนกประสงค์ คือ 59 ชั่วโมงต่อปีและมีระยะเวลาคืนทุนจะเท่ากับ 113 วัน อีกทั้งยังสามารถลดระยะเวลาในการผสมและอัดถ่านแท่งได้มากกว่าใช้แรงงานคน

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
-
-
-
นวัตกรรมกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่ง, คุณภาพ, ประสิทธิภาพ

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร.ไวรุจน์ อิ่มโพ
ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร.ไวรุจน์ อิ่มโพ เเละ ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรม . (2567). การพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าสําหรับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.