การพัฒนาแหล่งโปรตีนจากแหนแดงทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ํานมโค
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบวิธีการจัดการเพาะเลี้ยงแหนแดงและชนิดของปุ๋ย ต่อการให้ผลผลิตและองค์ประกอบทางโภชนะของแหนแดง และการพัฒนาเป็นแหล่งวัตถุดิบโปรตีนทดแทนกากถั่ว เหลืองในสูตรอาหารโครีดนม การวิจัยนี้มีการศึกษา 3 กิจกรรมย่อย ประกอบด้วย (1) ศึกษาสภาพการจัดการ เพาะเลี้ยงที่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตและคุณภาพแหนแดงสายพันธุ์ Azolla microphylla เพื่อเป็นอาหารสัตว์ (2) ศึกษาสัดส่วนที่เหมาะสมการใช้แหนแดงในสูตรอาหารด้วยเทคนิค in vitro gas production และ (3) การใช้ แหนแดงเป็นแหล่งโปรตีนทดแทนกากถั่วเหลืองในอาหารโครีดน้ํานม ต่อการให้ผลผลิต องค์ประกอบเคมีในน้ํานม และค่าชีวเคมีในกระแสเลือด จากการทดลองพบว่า อิทธิพลของสภาพการเพาะเลี้ยงและชนิดของปุ๋ยมีผลต่อค่าผลผลิตน้ําหนัก สด (P<0.05) ชนิดปุ๋ยมีผลต่อการให้ผลผลิตในรูปของน้ําหนักแห้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยแหนแดงที่ได้รับมูลโคนมมีค่าน้ําหนักแห้งสูงสุด รองลงมาคือ ปุ๋ยซุปเปอร์ฟอสเฟต มูลสุกร มูลนกกระทา และ กลุ่มควบคุม โดยมีค่าเท่ากับ 92.45, 91.18, 79.30, 70.08 และ 49.99 กรัมต่อตารางเมตร ตามลําดับ สัดส่วนที่ เหมาะสมในการใช้แหนแดงทดแทนกากถั่วเหลืองในสูตรอาหารข้นของโคนมไม่ควรเกินที่ระดับ 60 เปอร์เซ็นต์การ ใช้แหนแดงแห้งทดแทนกากถั่วเหลืองที่ระดับ 30 และ 60 เปอร์เซ็นต์ ให้ผลผลิตน้ํานมสูงสุดเท่ากับ 12.55 และ 12.77 กก./ตัว/วัน รวมถึงค่าองค์ประกอบทางเคมีในน้ํานม (โปรตีน ไขมัน น้ําตาลแลกโตส ของแข็งไม่รวมไขมัน และของแข็งรวมทั้งหมดในน้ํานม) โคกลุ่มที่ได้รับแหนแดงจะมีค่าที่สูงกว่ากลุ่มควบคุม การใช้แหนแดงในสูตรอาหาร ข้นโครีดนมไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของโคเมื่อประเมินจากค่าโลหิตวิทยา