งานวิจัย แนวทางการสร้างข้าว ‘ซุปเปอร์ไรซ์’ ในประเทศไทยระยะที่ 1


แนวทางการสร้างข้าว ‘ซุปเปอร์ไรซ์’ ในประเทศไทยระยะที่ 1

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาหากรรมวิธีที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดข้าวโพลีพลอยด์และ เพื่อชักนำให้เกิดข้าวโพลีพลอยด์. การทดลองประกอบด้วยการทดลองที่ 1 การศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการ ชักนำให้เกิดโพลีพลอยดในข้าวกข.43 การทดลองที่ 2 การชักนำให้เกิดข้าวโพลีพลอยต์พันธุ์ต่าง ๆ ด้วยโคลชิ ซิน. ผลจากการศึกษา พบว่า หลังจากการทรีตโคลชิชินในข้าวกข.43 ในระดับความเข้มข้น 0.0.0.1, 0.15, 0.2 และ0.25 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา 2, 4 และ6 ชั่วโมงโคลชิชินระดับความเข้มข้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลา 2 ชั่วโมงมีต้นผิดปกติมากที่สุด รองลงมาคือ ระดับความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา 4 ชั่วโมง และระดับ ความเข้มข้น 0.15 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา 2 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม พบว่า ที่ระดับความเข้มข้นที่มีเปอร์เซ็นต์ต้น ข้าวที่มีหางซึ่งบ่งขี้ความเป็นโพลีพลอยด์สูงที่สุด คือ T15 (0.25,6) รองลงมา คือ T9 (0.15,6) และT11 (0.2,4) ตามลำดับ เมื่อพิจารณาผลของโคลชิชิชินที่มีต่อการเจริญเติบโตของข้าวกช.43 เมื่ออายุ 3 เดือน พบว่า ความ เข้มข้นของโคลชิซินทำให้ต้นข้าวมีความสูง จำนวนใบ จำนวนต้นต้นต่อกอ ความกว้าง ความยาวใบ และปริมาณ คลอโรฟิลล์ในใบแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อทรีตโคลชิซินเป็นเวลาแตกต่างกันทำให้จำนวนต้น ต่อกอแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อพิจารณาลักษณะขององค์ประกอบผลผลิต พบว่า เมื่อได้รับ โคลชิชินระดับความเข้มขันแตกต่างกันทำให้จำนวนเมล็ดทั้งหมด จำนวนเมล็ดเต็ม แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญ นอกจากนี้ยังทำให้ความยาวเมล็ดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง จากการทรีตโคลชิชิชินในระดับเวลา ที่แตกต่างกันทำให้จำนวนรวงต่อกอ จำนวนเมล็ดทั้งหมด จำนวนเมล็ดเต็ม และน้ำหนักเมล็ดเต็มแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญยิ่ง นอกจากนี้ยังพบว่าระดับเวลาการได้รับโคลซิชิซินที่แตกต่างกันทำให้จำนวนเมล็ดลีบและ ความยาวเมล็ดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการทดลองที่ 2 การชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์ในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ด้วยโคลชิชิน 0.1 เปอร์เซ็นต์ ในระดับเวลาที่แตกต่างกัน (0 และ 6 ชั่วโมง) พบว่า พันธุ์ข้าวที่แตกต่างกันมีความสูง จำนวนใบ จำนวนต้นต้นต่อ กอ ความกว้างใบ ความยาวใบและปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิงทางสถิติ ระดับเวลา การได้รับโคลชิชินที่แตกต่างกันทำให้ ความสูง จำนวนใบ จำนวนต้นต่อกอ เส้นรอบวงต้น ความกว้างใบ และ ความยาวใบแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ในลักษณะองค์ประกอบผลผลิตบว่า พันธุ์ข้าวที่แตกต่าง กันทำให้จำนวนรวงต่อกอ น้ำหนักเมล็ดเต็ม จำนวนเมล็ดเมล็ดเต็ม จำนวนเมล็ดลีบ จำนวนเมล็ดทั้งหมด ความกว้าง เมล็ด และความยาวเมล็ดแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อพิจารณาระดับเวลาการได้รับโคลชิชินที่ แตกต่างกัน พบว่า ระดับเวลาการได้รับโคลชิชินที่แตกต่างกันทำให้ น้ำหนักเมล็ดเต็ม จำนวนเมล็ดเต็ม จำนวน เมล็ดทั้งหมด และความกว้างเมล็ดแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อพิจารณาความผิดปกติของต้นข้าวพันธุ์ต่าง ๆ พบว่า มีความงอก และความผิดปกติแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อได้รับโคลชิลชิชิ นความเข้มข้น 0.1 เปอร์เซ็นต์ในระดับเวลาที่แตกต่างกันทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอก และเปอร์เซ็นต์ความ ผิดปกติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง เมื่อพิจารณาเปอร์เซ็นต์ต้นข้าวที่มีหางซึ่งบ่งชี้ความเป็นโพลีพลอยด์ พบว่า ทรีตเมนต์ K20 (Blackberry/6) มีเปอร์เซ็นต์ต้นต์ต้นข้าวที่มีหางสูงที่สุด รองลงมา คือ K14(Majo2/6) และ K16 (Homnaka/6)

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
เทคโนโลยีการเกษตร
พืชศาสตร์
-
-
ข้าว, ข้าวเตตราพลอยด์, โพลีพลอยด์, โคลชิชิน

เจ้าของผลงาน
รศ.ดร.สุนทรีย์ สุรศร
อาจารย์ ดร. ศุภสิทธิ์ สิทธาพานิช, อ.น.สพ.จักรพรรดิ์ ประชาชิต, ผศ.น.สพ.ธราดล จิตจักร

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
รศ.ดร.สุนทรีย์ สุรศร ,อาจารย์ ดร. ศุภสิทธิ์ สิทธาพานิช, อ.น.สพ.จักรพรรดิ์ ประชาชิต เเละ ผศ.น.สพ.ธราดล จิตจักร . (2567). แนวทางการสร้างข้าว ‘ซุปเปอร์ไรซ์’ ในประเทศไทยระยะที่ 1. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.