การพัฒนาวัสดุเพาะเห็ดนางรมจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น
การวิจัยเรื่องการพัฒนาวัสดุเพาะเห็ดนางรมจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ เพื่อผลิตวัสดุเพาะเชื้อเห็ดนางรมจากวัสดุทางเลือกในท้องถิ่น คือ วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีในท้องถิ่น ได้แก่ ผักตบชวา และชานอ้อย ร่วมกับการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราซึ่งนิยมใช้ แต่ปัจจุบันขี้เลื่อยไม้ยางพารามีราคา สูงขึ้น ดังนั้นหากมีวัสดุอื่นทดแทนการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราได้ย่อมเป็นการลดต้นทุนในการผลิต การวิจัยครั้งนี้ ท าการทดสอบความสามารถของวัสดุเพาะอัตราส่วนแตกต่างกันจ านวน 13 สูตร โดยวิเคราะห์ธาตุอาหาร ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม และองค์ประกอบทางเคมีได้แก่ อินทรีย์คาร์บอนทั้งหมด และ อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน แผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block 5 ซ้ า ซ้ าละ 20 ก้อน บ่มเพาะเชื้อเห็ดนางรม (Pleurotus ostreatus) ในโรงเรือน ติดตามการเจริญของเชื้อเห็ดในถุงเพาะเชื้อเห็ด จนได้ก้อนเห็ดที่สมบูรณ์พร้อมเปิดดอกเห็ด เพื่อเปรียบเทียบผลผลิตของเห็ดนางรมที่เพาะจากวัสดุเพาะสูตร ต่างกัน ผลการวิจัยพบว่าปริมาณธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในผักตบชวามีค่าสูงที่สุด ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนของขี้เลื่อยไม้ยางพาราและผักตบชวา มีค่าใกล้เคียงกันและสูงกว่าในชานอ้อย ในขณะ ที่อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนมีปริมาณสูงที่สุดในขี้เลื่อยไม้ยางพารา รองลงมาคือชานอ้อย และผักตบชวา เมื่อน าวัสดุทางการเกษตรทั้ง 3 ชนิดมาผลิตเป็นวัสดุเพาะเห็ด 13 สูตรการทดลอง พบว่า ปริมาณอินทรีย์ คาร์บอนทั้งหมดมีค่าใกล้เคียงกันในทุกสูตรการทดลอง ส่วนปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ฟอสฟอรัสทั้งหมด และ โพแทสเซียมทั้งหมดของ 12 สูตรการทดลองมีค่าใกล้เคียงกัน ยกเว้นสูตรการทดลองที่ 3 ซึ่งประกอบด้วย ผักตบชวา 100% มีค่าสูงกว่าสูตรการทดลองอื่น อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนของสูตรการทดลองที่ 3 มี อัตราส่วนต่ าที่สุด เมื่อเทียบกับอีก 12 สูตรการทดลอง ผลการศึกษาด้านการเจริญของเชื้อเห็ดในก้อนเชื้อ แสดงให้เห็นว่าสูตรทดลองที่ 9, 12 และ 13 เชื้อเห็ดนางรมเจริญเต็มถุงเพาะเชื้อเห็ดเร็วที่สุดใช้เวลา 25 วัน และสูตรทดลองที่ 2, 4, 5, 6, 7, 10, 11 เชื้อเจริญเต็มก้อนใช้เวลา 30 วัน เมื่อท าการเปิดดอกเห็ดสูตรทดลองที่ 1, 4, 6, 10, 11, 12 และ 13 จะเข้าสู่ระยะ pin head stage หลังการเปิดดอกเห็ด 5 วัน ส่วนสูตรที่เกิดตุ่ม ดอกเห็ดช้าที่สุด คือ สูตรทดลองที่ 3 ผักตบชวา 100% ผลของผลผลิตเห็ดนางรม แสดงผลของสูตรการทดลอง ที่ 5 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 50% : ชานอ้อย 50% มีจ านวนดอกเห็ดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 9.19 ดอก ด้านน้ าหนัก ดอกเห็ดนางรม พบว่าสูตรทดลองที่ 6 ขี้เลื่อยยางพารา 60% : ชานอ้อย 40% มีน้ าหนักสดต่อช่อมากที่สุด โดย มีค่าเฉลี่ยน้ าหนักดอกเห็ด 54.23 กรัม ด้านความกว้างหมวกดอกเห็ดนางรม พบว่า สูตรทดลองที่ 2 ชานอ้อย 100% มีความกว้างหมวกดอกมากที่สุด ด้านความยาวของก้านดอกเห็ดนางรมพบว่า สูตรทดลองที่ 10 ขี้เลื่อย ยางพารา 50% : ผักตบชวา 50% มีความยาวก้านดอกเห็ดนางรมมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.3086 เซนติเมตร สรุปผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า วัสดุเพาะเห็ดทั้ง 3 ชนิด มีปริมาณธาตุอาหารและองค์ประกอบ ทางเคมีที่สามารถน ามาใช้เป็นวัสดุเพาะเห็ดนางรมได้ โดยเห็ดนางรมสามารถออกดอกและเจริญเติบโต ดังนั้น การเพาะเห็ดนางรมโดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่น สามารถน ามาเป็นวัสดุเพาะส าหรับอัดก้อนเห็ด นางรมได้ แต่ประสิทธิภาพการเจริญเติบโตในการศึกษาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านจ านวนดอกเห็ดนางรมสด ด้าน น้ าหนักดอกเห็ดนางรม ด้านความกว้างหมวกดอกเห็ดนางรม และด้านความยาวของก้านดอกเห็ดนางรม ของ วัสดุเพาะแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน โดยในสูตรทดลองที่ 6 ขี้เลื่อยยางพารา 60% : ชานอ้อย 40% เหมาะที่ จะน ามาใช้เป็นอัตราส่วนผสมส าหรับเพาะเห็ดนางรมได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับสูตรทดลองอื่น เนื่องจากมีปริมาณ ธาตุอาหารเหมาะสมต่อการเจริญของเส้นใยเห็ดใช้เวลา 30 วัน ผลผลิตของเห็ดให้น้ าหนักผลผลิตเห็ดเฉลี่ยสูง ที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับชุดการทดลองอื่น รองลงมา คือ สูตรการทดลองที่ 5 มีสัดส่วนของขี้เลื่อยไม้ยางพารา 50% : กากชานอ้อย 50% ล าดับที่ 3 คือ สูตรการทดลองที่ 4 มีสัดส่วนของขี้เลื่อยยางพารา 80% : กากชาน อ้อย 20% ซึ่งทั้ง 3 สูตรการทดลองเมื่อน ามาเปรียบเทียบกับสูตรการทดลองที่ 1 สูตรควบคุมที่มีสัดส่วนของขี้ เลื่อยยางพารา 100% พบว่าน้ าหนักผลผลิตเห็ดนางรมเฉลี่ยไม่แตกต่างกันทางสถิติ