การวิเคราะห์ปริมาณสารส าคัญและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพืชสมุนไพร
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสกัดสารออกฤทธิ์วิเคราะห์หาปริมาณสารสําคัญและฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระจากพืชสมุนไพร ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ย่านางแดง รางจืด ดีปลาช่อน ส่องฟ้า และแก่นตะวัน สกัดด้วยตัวทําละลายเฮกเซน เอทิลอะซิเตต และเมทานอล ศึกษาปริมาณสารสําคัญในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์แอนโทไซยานิน ฟีนอลิก และศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS ของสาร สกัดจากส่วนต่าง ๆ ของพืชสมุนไพรที่สกัดด้วยตัวทําละลายต่างชนิด พบว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจรในตัวทํา ละลายเมทานอลให้ผลได้ร้อยละสูงที่สุด มีเท่ากับ 17.38 และมีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมสูงที่สุด มีค่าเท่ากับ 649.50 ± 4.79 มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อกรัมของส่วนสกัด และมีปริมาณฟลาโว นอยด์รวมสูงที่สุดในตัวทําละลายเฮกเซน มีค่าเท่ากับ 981.15 ± 6.45 มิลลิกรัมสมมูลของเควอร์เซตินต่อ กรัมของส่วนสกัด และพบสารสกัดย่านางแดงในตัวทําละลายเมทานอลมีปริมาณสารแคโรนีนอยด์รวมมาก ที่สุด มีค่าเท่ากับ 4.87 ± 0.07 มิลลิกรัมสมมูลของเบต้าแคโรทีนต่อกรัมของส่วนสกัด และปริมาณแอนโทร ไซยานินรวมมากที่สุด มีค่าเท่ากับ 1.78 ± 0.01 มิลลิกรัมสมมูลของไซยานิดิน-3-กลูโคไซด์ต่อกรัมของส่วน สกัด การทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH และ ABTS พบว่าสารสกัดฟ้าทะลายโจรในตัวทําละลายเมทา นอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด มีค่า IC50 เท่ากับ 7.02 ± 0.75 และ 5.36 ± 0.08 ไมโครกรัมต่อ มิลลิลิตร ตามลําดับ สารสกัดในพืชสมุนไพรมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกันในตัวทําลายแต่ละชนิด โดยเฉพาะสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีที่สุดในตัวทําละลายเมทานอลแสดงให้เห็นว่า สารออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในฟ้าทะลายโจรสามารถละลายได้ดีในตัวทําละลายที่มีขั้วสูง โดยที่ฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระมีความสัมพันธ์กับปริมาณสารสําคัญในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ฟลาโวนอยด์ แอนโทรไซยานิน และฟีนอลิกที่มีในสารสกัดแต่ละชนิดแบบเชิงลบ ซึ่งการเพิ่มของปริมาณสารสําคัญส่งผลให้ประสิทธิภาพ ต้านอนุมูลอิสระได้ดี ดังนั้นพืชสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ย่านางแดง รางจืด รวมถึงดีปลาช่อน ส่องฟ้า และ แก่นตะวัน เป็นพืชสมุนไพรที่มีความน่าสนใจในการนําไปต่อยอดพัฒนาใช้ประโยชน์ต่อไป