ประสิทธิภาพของสมุนไพรหญ้าขัดใบยาวและการขยายพันธุ์ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการขยายพันธุ์สมุนไพรหญ้าขัดใบยาว ประสิทธิภาพของสาร สกัดสมุนไพรหญ้าขัดใบยาว และศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้สารสกัดสมุนไพรหญ้าขัดใบยาวเป็นผลิตภัณฑ์ สมุนไพร พบว่า การขยายพันธุ์สมุนไพรหญ้าขัดใบยาวการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ นําตาข้างมาเพาะเลี้ยงในสูตร อาหาร Murashige and Skoog medium (MS) ที่มีการเติม BA ความเข้มข้น 4.0 มิลลิกรัมต่อลิตร มียอดที่มี ขนาดยาวกว่า 0.5 เซนติเมตร สูงสุดจํานวน 5.04ยอด สูตรอาหารที่มีความเหมาะสมในการเพิ่มจํานวนราก คือ MS ที่มีการเติม NAA ความเข้มข้น 4.0 มิลลิกรัมต่อสิตร มีจํานวนรากสูงที่สุด 15.02 ราก การศึกษา ประสิทธิภาพชองสารสกัดสมุนไพรหญ้าขัดใบยาว (ใบ ลําต้น และ ราก) ด้วยเอทานอล เมทานอล ไดคลอโร มีเทน และน้ํา สารสกัดหยาบใบสมุนไพรหญ้าขัดใบยาวที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ แบคทีเรีย Propionibacterium acnes, Staphylococcus aureus, Staphylococcus epidermidis และ Escherichia coli ได้ ความเข้มข้นต่ําสุดของสารสกัดจากสมุนไพรที่สามารถยับยั้งเชื้อ (MIC) และความเข้มข้น ต่ําสุดของสารทดสอบที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ (MBC) มีค่าเท่ากับ 25 และ 100 มิลลิกรัมต่อมิลลิสิตร ตามลําดับ เมื่อทดสอบสารพฤกษเคมีเบื้องต้น (Phytochemical Screening) พบสารกลุ่มแอลคาลอยด์ ฟีนอ ลิก ฟลาโวนอยด์ ซาโปนิน แทนนิน เทอร์ปีนอยด์ สเตียรอยด์ และคาร์ดิแอคไกลโคไซด์ในการทดสอบฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบใบสมุนไพรหญ้าขัดใบยาว ด้วยวิธี DPPH (2,2-diphenyl-1-picry/hydrazyl) พบว่าความเข้มข้นของสารที่มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระที่ร้อยละ 50 (IC50) ที่ดีที่สุดคือสารสกัด หยาบส่วนของเอทานอล อยู่ที่ 562.43 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร การวิเคราะห์หาปริมาณฟืนอลิกรวมของสาร สกัดหยาบสมุนไพรใบหญ้าขัดใบยาวที่สกัดด้วยเอทานอล พบว่า มีปริมาณฟีนอลิกรวมสูงที่สุดอยู่ที่ 50.82 มิลลิกรัมแกลลิกต่อกรัมของสารสกัดสมุนไพรหญ้าขัดใบยาว ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญกับสารสกัดตัวอื่นๆ ดังนั้นสารสกัดหยาบส่วนของเอทานอล จึงน่าจะถูกเลือกเป็นส่วนผสมในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์