งานวิจัย การเปรียบเทียบความแม่นยําของการพยากรณ์ปริมาณน้ําในเขื่อน น้ําอูน จังหวัดสกลนครด้วยตัวแบบอารีมา การถดถอยพหุคูณและซัพพอร์ตเวกเตอร์รีเกรสชัน


การเปรียบเทียบความแม่นยําของการพยากรณ์ปริมาณน้ําในเขื่อน น้ําอูน จังหวัดสกลนครด้วยตัวแบบอารีมา การถดถอยพหุคูณและซัพพอร์ตเวกเตอร์รีเกรสชัน

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและเปรียบเทียบความแม่นยําของตัวแบบการพยากรณ์ ปริมาณน้ําในเขื่อนน้ําอูนด้วยตัวแบบอารีมา ตัวแบบการวิเคราะห์การถดถอย และตัวแบบซัพพอร์ต เวกเตอร์รีเกรสชัน (Support Vector Regression: SVR) สําหรับการพยากรณ์ระยะสั้นของปริมาณ น้ําในเขื่อนน้ําอูน ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วยข้อมูลปริมาณน้ําในเขื่อนน้ําอูน ข้อมูลด้าน อุตุนิยมวิทยาและข้อมูลสถานภาพน้ําในเขื่อน ซึ่งเป็นข้อมูลเฉลี่ยรายเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 จํานวน 132 คาบเวลา เก็บบันทึกโดยสถานีอุตุนิยมวิทยาจังหวัด สกลนคร และโครงการส่งน้ําและบํารุงรักษาน้ําอูน ผู้วิจัยใช้วิธีการแบ่งข้อมูลแบบอนุกรมเวลา (Temporal split) เป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลจํานวน 126 คาบเวลาแรก เป็นข้อมูลสร้างตัวแบบ ส่วนที่ 2 ข้อมูล 6 คาบเวลาที่เหลือ เป็นข้อมูลทดสอบความแม่นยําของตัวแบบการพยากรณ์ ด้วย เกณฑ์รากที่สองของกําลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อน (RMSE) และค่าเฉลี่ยของร้อยละความผิด พลาดสัมบูรณ์ (MAPE) ต่ําสุด ผลการวิจัยพบว่า ตัวแบบที่เหมาะสมในการพยากรณ์ปริมาณน้ําในเขื่อนน้ําอูนจังหวัด สกลนคร คือ ตัวแบบ SVR เมื่อใช้ฟังก์ชันเคอร์เนล RBF, = 0.1, = 0.1 และค่า cost เท่ากับ 4.287, R2 = 0.9945 และผลการทดสอบกับข้อมูลชุดทดสอบได้ RMSE = 5.2833 และ MAPE = 1.5515

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณิตศาสตร์
-
-
การพยากรณ์, ปริมาณน้ําในเขื่อน, อารีมา, การถดถอยพหุคูณ, ซัพพอร์ตเวกเตอร์รีเกรสชัน

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร. ชนัญกาญจน์ แสงประสาน
อาจารย์นาฎลดา เรืองชาญ, อาจารย์สุดาพรรณ อาจกล้า

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร. ชนัญกาญจน์ แสงประสาน ,อาจารย์นาฎลดา เรืองชาญ เเละ อาจารย์สุดาพรรณ อาจกล้า . (2567). การเปรียบเทียบความแม่นยําของการพยากรณ์ปริมาณน้ําในเขื่อน น้ําอูน จังหวัดสกลนครด้วยตัวแบบอารีมา การถดถอยพหุคูณและซัพพอร์ตเวกเตอร์รีเกรสชัน. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.