การวิจัยและพัฒนาระบบปรับอากาศเทอร;โมอิเล็กทริกสําหรับยานยนต;
โครงการวิจัยนี้มีความสำคัญหลัก 2 ประการ คือ 1) การวิจัยและพัฒนาเครื่องปรับอากาศ เทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับยานยนต์ และ 2) การวิจัยและพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเทอร์โมอิเล็กทริก สำหรับยานยนต์ ในการวิจัยและพัฒนาเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับยานยนต์นั้น ได้ทำ การออกแบบเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกปรับอุณหภูมิช่วง 20-40 C ผ่านระบบควบคุม เครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกที่ติดตั้งภายในห้องโดยสารรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 5 ที่นั่ง โดยใช้ อุปกรณ์เทอร์โมอิเล็กทริก TEC-12706 จำนวน 12 ชุด ใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้า 12 V จากแบตเตอรี รถยนต์ การปรับอุณหภูมิทำความเย็นและผลิตไฟฟ้าอุปกรณ์เทอร์โมอิเล็กทริกผ่านแผงระบบควบคุบคุม แสดงผลผ่านจอ PLC ผลการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริก พบว่า เครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกเมื่อทดสอบเวลาผ่านไป 60 นาที สามารถควบคุมอุณหภูมิ เฉลี่ยเป็น 24.4 C ความชื้นเฉลี่ยเป็น 50.67 %RH กำลังไฟฟ้าที่ใช้เฉลี่ยเป็น 120 W และค่า สัมประสิทธิ์สมรรถนะการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศเทอร์โมอิเล็กทริกอยู่ที่ 12 สำหรับการวิจัยและพัฒนาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเทอร์โมอิเล็กทริกสำหรับยานยนต์ ได้ทำการ ออกแบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเทอร์โมอิเล็กทริกโดยใช้ความร้อนจากหม้อน้ำรถยนต์อุณหภูมิช่วง 70- 120 C ผ่านระบบควบคุมการเกี่ยวพลังงานเทอร์โมอิเล็กทริกจากความร้อนของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล 5 ที่นั่ง โดยใช้อุปกรณ์เทอร์โมอิเล็กทริก TEC-12706 จำนวน 30 ชุด ในการผลิตแหล่งจ่ายไฟฟ้า กระแสตรงเพื่อประจุแบตเตอรี่และใช้งานกับอุปกรณ์ส่องสว่างของรถยนต์ทำการติดตั้งเครื่องกำเนิด ไฟฟ้าเทอร์โมอิเล็กทริกที่ประดิษฐ์ขึ้นกับห้องเครื่องรถยนต์ โดยใช้ความร้อนจากหม้อน้ำรถยนต์ อุณหภูมิช่วง 70-120 C พบว่า ค่าความต่างศักยไฟฟ้าที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเทอร์โมอิเล็กทริกผลิตได้มี ค่าสัมขั้นตามคุณหภูมิควานรัสนจาหนัยน้ำรมอนต์เป็น 064545 V ที่ฤทน้อน้ำ 28 C ในขณะ ที่อุณหภูมิหม้อน้ำเป็น 77 C มีค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าสูงสุดเป็น 3.629 V ค่ากระแสไฟฟ้าสูงสุดเป็น 0.36 A และคำนวณค่ากำลังไฟฟ้าสูงสุดเป็น 1.306 W ผลการวิจัยได้บ่งชี้ว่า เทคโนโลยีเทอร์โมอิเล็กทริกสามารถนำมาพัฒนาระบบปรับอากาศและ ผลิตไฟฟ้าเทอร์โมอิเล็กทริกเพื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้