งานวิจัย การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการหกล้มในผู้สูงอายุด้วยเทคนิคแมชซีนเลิร์นนิ่ง สําหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ


การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการหกล้มในผู้สูงอายุด้วยเทคนิคแมชซีนเลิร์นนิ่ง สําหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบเฝ้าระวังการหกล้มในผู้สูงอายุสําหรับหน่วยบริการ ปฐมภูมิ และ 2) ประเมินระบบเฝ้าระวังการหกล้มในผู้สูงอายุสําหรับหน่วยบริการปฐมภูมิโดยใช้ข้อมูล รายการคัดกรองและประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ (Basic Geriatric Screen: BGS) จํานวน 1,258 คน งานวิจัยนี้มีวิธีการดําเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ปัจจัยสําคัญด้วยวิธีการแบบ Chi-square test และวิธีการคัดเลือกแบบ Information Gain, Gain Ratio และ CFS 2) การพัฒนาตัวแบบพยากรณ์ ด้วยเทคนิค Decision Tree 3) การพัฒนาระบบสารสนเทศการเฝ้าระวังการหกล้มในผู้สูงอายุตาม กระบวนการ SDLC ด้วยภาษา PHP จัดการฐานข้อมูลด้วย MySQL และ 4) การประเมินประสิทธิภาพ และประเมินความพึงใจต่อระบบสารสนเทศการเฝ้าระวังการหกล้มในผู้สูงอายุ โดยออกแบบตามวิธีการ การทดสอบระบบด้วยเทคนิค Black-Box Testing ซึ่งเครื่องมือที่ใช้วิจัยครั้งนี้เป็นระบบสารสนเทศการ เฝ้าระวังการหกล้มในผู้สูงอายุแบบประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ โดยผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 5 คน ที่มีความเชี่ยวชาญตามศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้งานระบบสารสนเทศนี้ ด้วยกลุ่มตัวอย่าง จํานวน 30 คน คัดเลือกด้วยวิธีการแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ปัจจัยทั้ง 4 วิธีการ วิเคราะห์ได้ว่าปัจจัยทั้ง 9 ปัจจัย คือ ด้านการ เคลื่อนไหวร่างกาย ด้านการขาดสารอาหาร ด้านการมองเห็น ด้านการได้ยิน ด้านภาวะซึมเศร้า ด้านการ กลั้นปัสสาวะ ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน ด้านความคิดความจํา และด้านช่องปาก มีความสําคัญต่อ การเกิดความเสี่ยงในการหกล้มหรือสุขภาพของผู้สูงอายุและเมื่อนําไปพพัฒนาตัวแบบพบว่า ตัวแบบการ พยากรณ์ด้วย Decision Tree มีประสิทธิภาพที่ค่าความถูกต้องเท่ากับ 99.52% เมื่อนําระบบสารสนเทศ การเฝ้าระวังการหกล้มในผู้สูงอายุไปใช้งานจริงจากผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มตัวอย่าง พบว่าประสิทธิภาพโดยรวมของระบบอยู่ในระดับมาก (x̄ =4.50, S.D.=0.63) และผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต้อการใช้งานระบบ อยู่ในระดับมาก (x̄ =4.47, S.D.=0.61) จะเห็นได้ว่าระบบสารสนเทศนี้สามารถนําไปใช้เป็นเครื่องมืออีก ระบบที่อํานวยความสะดวกให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล บุคลากร และกลุ่ม อสม. สําหรับใช้ ติดตามและตรวจเยี่ยมผู้สูงอายุในพื้นที่รับผิดชอบและครัวเรือนที่ได้รับมอบหมายได้

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิทยาการคอมพิวเตอร์
-
-
การเฝ้าระวังการหกล้มในผู้สูงอายุ, การเรียนรู้ของเครื่อง, ระบบสารสนเทศ, แอปพลิเคชันบนมือถือ, หน่วยบริการปฐมภูมิ

เจ้าของผลงาน
อาจารย์ ดร. นิภาพร ชนะมาร
ผศ.ดร. ณีรนุช วรไธสง, อาจารย์ ดร. ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม, อาจารย์วิบูลย์สุข ตาลกุล, ผศ.จิราภรณ์ จำปาจันทร์, ผศ.ดร. พลากร สืบสำราญ

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์ ดร. นิภาพร ชนะมาร ,ผศ.ดร. ณีรนุช วรไธสง, อาจารย์ ดร. ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม, อาจารย์วิบูลย์สุข ตาลกุล, ผศ.จิราภรณ์ จำปาจันทร์ เเละ ผศ.ดร. พลากร สืบสำราญ . (2567). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการหกล้มในผู้สูงอายุด้วยเทคนิคแมชซีนเลิร์นนิ่ง สําหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.