งานวิจัย ผลของไบโอชาร์ต่อกิจกรรมการต้านแบคทีเรียก่อโรคและ คุณภาพน้ําในบ่อเลี้ยงปลา


ผลของไบโอชาร์ต่อกิจกรรมการต้านแบคทีเรียก่อโรคและ คุณภาพน้ําในบ่อเลี้ยงปลา

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษากิจกรรมการต้านแบคทีเรียก่อโรคของไบโอชาร์ (ได้แก่ ไบโอชาร์จากผักตบชวา จอกหูหนูและธูปฤาษี) และผลของไบโอชาร์ต่อคุณภาพน้ําในบ่อเลี้ยง ปลา จากการทดสอบประสิทธิภาพของไบโอชาร์ในการต้านแบคทีเรียก่อโรค จํานวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ Aeromonas hydrophila, Pseudomonas aeruginosa และ Streptococcus sp. ด้วยวิธี Agar dilution test พบว่า ไบโอชาร์จากผักตบชวามีค่าเปอร์เซ็นต์การต้านเชื้อทดสอบทุกสายพันธุ์ มากที่สุด สอดคล้องกับผลการศึกษาด้วยวิธี Agar well diffusion ที่พบว่า มีเพียงไบโอชาร์จาก ผักตบชวาเท่านั้นที่สามารถยับยั้งเชื้อทดสอบทั้ง 3 สายพันธุ์ได้ สําหรับการศึกษาผลของไบโอชาร์ต่อ คุณภาพทางกายภาพและเคมีของน้ําในบ่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยที่ติดตั้งระบบกรองที่บรรจุไบโอโอชาร์ ชนิดต่าง ๆ โดยมีชุดควบคุมผลบวกเป็นระบบกรองที่ใส่ถ่านไม้ทั่วไป และชุดควบคุมผลลบเป็นระบบ กรองที่ไม่ใส่ไบโอชาร์ พบว่า ตลอดช่วงเวลาที่ดําเนินการศึกษาเป็นเวลา 45 วัน คุณภาพน้ําในแต่ละ ชุดการทดลองส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปในทางเดียวกัน โดยเมื่อเปรียบเทียบการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ พบว่า ในช่วงวันสุดท้ายของการศึกษา ตัวอย่างน้ําจากชุดการทดลองที่มีการใส่ไบโอชาร์ในระบบกรองมี แนวโน้มทําให้ค่า BOD ออร์โธฟอสเฟต ฟอสฟอรัสรวม ไนไตรท-ไนโตรเจน ต่ํากว่าชุดควบคุม ทั้งนี้ จากคุณภาพน้ําดังกล่าว พบว่าการเพาะเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยด้วยระบบการกรองที่มีไบโอชาร์ไม่มีผลต่อ ค่าน้ําหนักเฉลี่ย น้ําหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ค่าอัตราการเจริญเติบโตจําเพาะ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็น เนื้อ (Feed conversion ratio; FCR) และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยตอวัน (Average daily growth; ADG) ของปลาดุกบิ๊กอุยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้นค่าอัตรารอดตายที่ พบว่าทุกชุดการทดลองที่ใส่ไบโอชาร์มีอัตรารอดตายที่สูงกว่าชุดควบคุม สําหรับการศึกษาชนิดและ ปริมาณแพลงก์ตอนในบ่อเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุย พบว่า มีแพลงก์ตอนพืชรวมทั้งหมด 4 ดิวิชัน 24 จีนัส 41 สปีซีส์ แพลงก์ตอนสัตว์พบรวมทั้งหมด 3 ไฟลัม 6 จีนัส 9 สปีซีส์ซึ่งแพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่ที่ ตรวจพบจากชุดการทดลองที่ใส่ไบโอชาร์จากผักตบชวาจะมีความหนาแน่นน้อยกว่าชุดการทดลองอื่น ส่วนค่าดัชนีความหลากชนิดของแพลงก์ตอนพืชมีค่าตั้งแต่ 0.37-1.49 ค่าดัชนีความหลากหลายมีค่าตั้งแต่ 0.29-2.11 ส่วนแพลงก์ตอนสัตว์มีค่าดัชนีความหลากหลายตั้งแต่ 0-0.39 และมีค่าดัชนีความ หลากหลาย 0-1.17 งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของไบโอชาร์ที่สามารถนําไปพัฒนาต่อยอดสู่ การประยุกต์ใช้ไบโอชาร์เพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ในอนาตต่อไป

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชีววิทยา
-
-
ไบโอชาร์, แบคทีเรียก่อโรคในปลา, กิจกรรมการต้านจุลินทรีย์, คุณภาพน้ํา

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร.แก้วกัลยา โสตถิสวัสดิ์
ผศ.ดร.นพรัตน์ สิทธิวงศ์, ผศ.เพิ่มศักดิ์ ยีมิน

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร.แก้วกัลยา โสตถิสวัสดิ์ ,ผศ.ดร.นพรัตน์ สิทธิวงศ์ เเละ ผศ.เพิ่มศักดิ์ ยีมิน . (2567). ผลของไบโอชาร์ต่อกิจกรรมการต้านแบคทีเรียก่อโรคและ คุณภาพน้ําในบ่อเลี้ยงปลา. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.