งานวิจัย ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโน จากสาหร่ายสไปโรไจราเพื่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคผิวหนัง


ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโน จากสาหร่ายสไปโรไจราเพื่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคผิวหนัง

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของสาหร่ายสไปโรไจราจากแหล่งน้้าของจังหวัด สกลนคร โดยใช้สัณฐานวิทยาร่วมกับอณูชีววิทยา และน้ามาศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพได้แก่ ฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระ สังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนและสกัดสารจากสาหร่ายสไปโรไจราโดยใช้น้้า เอทานอล และเมทานอลเป็นตัวท้าละลาย เพื่อหาประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์บางชนิด ผลการวิจัยพบว่าตัวอย่างสาหร่ายสไปโรไจราจากแหล่งน้้า 10 แหล่ง สามารถวินิจฉัยชนิดได้ 6 ตัวอย่าง คือ Spirogyra submaxima 3 ตัวอย่าง S. fluviatilis, S. maxima และ S. chungkingensis เมื่อน้าสาหร่ายสไปโรไจรา 7 ตัวอย่างมาศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพพบว่ามี ปริมาณฟีนอลิกรวมอยู่ระหว่าง 6.08±0.68 – 12.25±0.27 mg GAE/g dry weight ฤทธิ์ต้านอนุมูล อิสระ DPPH มีค่า IC50 อยู่ระหว่าง 48.04-61.54 μg/mL การทดสอบประสิทธิภาพของสารสกัด สาหร่ายสไปโรไจราและอนุภาคซิลเวอร์นาโนต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อด้วยวิธี Agar well diffusion พบว่าอนุภาคซิลเวอร์นาโนจากสาหร่ายสไปโรไจราส่วนใหญ่ยับยั้งเชื้อ Escherichia coli, Bacillus cereus, Staphylococcus aureus และ Candida sp. ได้ดีที่สุด ส่วนเชื้อ Staphylococcus epidermidis ถูกยับยั้งได้ดีที่สุดด้วยสารสกัดจากเมทานอล เมื่อหาค่าความเข้มข้น ต่้าสุดของสารสกัดที่ท้าลายแบคทีเรีย (minimum bacterial concentration: MBC) และค่าความ เข้มข้นต่้าสุดของสารสกัดที่ท้าลายฟังไจ (minimum fungicidal concentration: MFC) พบว่า อนุภาคซิลเวอร์นาโนจากสาหร่ายสไปโรไจมีค่า MIC และ MBC ต่อเชื้อทดสอบทุกสายพันธุ์ต่้าที่สุด ยกเว้นค่า S. epidermidis

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชีววิทยา
-
-
สไปโรไจรา, ฤทธิ์ทางชีวภาพ, อนุภาคซิลเวอร์นาโน

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร. นพรัตน์ สิทธิวงศ์
ผศ.ดร. แก้วกัลยา โสตถิสวัสดิ์, ผศ.ดร. จีรพร เพกเกาะ, นางสาวกิตติยา ภิญโญ

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร. นพรัตน์ สิทธิวงศ์ ,ผศ.ดร. แก้วกัลยา โสตถิสวัสดิ์, ผศ.ดร. จีรพร เพกเกาะ เเละ นางสาวกิตติยา ภิญโญ . (2567). ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและการสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโน จากสาหร่ายสไปโรไจราเพื่อการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคผิวหนัง. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.