งานวิจัย องค์ประกอบทางเคมีของเห็ดโคนน้อยที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ


องค์ประกอบทางเคมีของเห็ดโคนน้อยที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ

งานวิจัยนี้ศึกษาฤทธิ์ต้านเบาหวานและองค์ประกอบทางเคมีของเห็ดโคนน้อย (Coprinus comatus) จากเห็ดโคน น้ําหนักแห้ง 3 กิโลกรัม สกัดด้วยเฮกเซน เอทิลอะซิเตต และเมทานอลที่ อุณหภูมิห้อง น้ําหนักของส่วนสกัดหยาบเฮกเซนคือ 8.014 กรัม ส่วนสกัดหยาบเอทิลอะซิเตตคือ 46.911 กรัม และส่วนสกัดหยาบเมทานอลคือ 48.565 กรัม ทดสอบฤทธิ์ต้านเบาหวานของสารสกัดหยาบ ทั้ง 3 ชนิดเปรียบเทียบกับอะคาร์โบสในการยับยั้งเอนไซม์α-glucosidase พบว่าสารสกัดหยาบ เฮกเซน (TCH) เอทิลอะซิเตต (TCE) และเมทานอล มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์α-glucosidase ที่ความเข้มข้น 1 มก./ มล. สามารถยับยั้งได้ร้อยละ 98.58 ± 0.09 98.90 ± 0.21% และ 6.68 ± 0.79 ตามลําดับ เนื่องจากสาร สกัดหยาบของเฮกเซน และเอทิลอะซิเตต มีฤทธิ์ในการยับยั้งเอนไซม์ α-glucosidase สูง จึงนํามาศึกษา องค์ประกอบทางเคมีเพิ่มเติม นําสารสกัดหยาบมาทําให้บริสุทธิ์ โดยเทคนิคโครมาโตกราฟี แยกสาร ออกเป็นแฟรกชัน ตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีด้วยวิธีโครมาโทกราฟีแบบชั้นบาง เพื่อรวมแฟรกชัน ของสารที่มีค่า Rf เท่ากัน แล้วแยกสารให้บริสุทธิ์ ได้สารบริสุทธิ์ 3 ชนิดจากส่วนสกัดหยาบเฮกเซนและ เอทิลซิเตท จากนั้นจึงศึกษาคุณสมบัติ ในทางกายภาพโดยการหาจุดหลอมเหลว ศึกษาค่าการดูดกลืน แสงโดยใช้สเปกโทรสโกปีแบบมองเห็นด้วยรังสียูวี วิเคราะห์หมู่ฟังก์ชันโดยใช้ฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์ม อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี พิสูจน์เอกลักษณ์ของสารด้วย Nuclear Magnetic Resonance Spectroscopy (1H-NMR และ 13C-NMR) โดยพบว่าสาร (1) คือ เออร์โกสเตอรอล น้ําหนัก 2.365 กรัม สาร (2) คือ อินโดล-3-คาร์บอกซาลดีไฮด์น้ําหนัก 1.6696 กรัม และสาร (3) คือสาร 4-ไฮดรอกซีเบนโซอิก แอซิด น้ําหนัก 1.0087 กรัม

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี
-
-
เห็ดโคน, องค์ประกอบทางเคมี, โครมาโทรกราฟี, เบาหวาน

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร. ศุภกร อาจหาญ
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร. ศุภกร อาจหาญ . (2567). องค์ประกอบทางเคมีของเห็ดโคนน้อยที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.