งานวิจัย การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมท่าทางพร้อม อุปกรณ์เสริมการรํามวย โบราณประยุกต์เพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้มและการบาดเจ็บในผู้สูงอายุจังหวัดสกลนคร


การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมท่าทางพร้อม อุปกรณ์เสริมการรํามวย โบราณประยุกต์เพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้มและการบาดเจ็บในผู้สูงอายุจังหวัดสกลนคร

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบและท่าทางการรํามวยโบราณ ประยุกต์ตามรูปแบบของชมรมมวยโบราณ จังหวัดสกลนคร 2) ประเมินประสิทธิผลของนวัตกรรมท่าทาง พร้อมอุปกรณ์เสริมการรํามวยโบราณประยุกต์เพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้มและการบาดเจ็บในผู้สูงอายุ จังหวัดสกลนคร และ 3) พัฒนาสื่อเสมือนจริงสําหรับถ่ายทอดนวัตกรรมท่าทางพร้อมอุปกรณ์เสริมการรํา มวยโบราณประยุกต์สู่การใช้งาน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การวิจัยระยะที่ 1 เป็นการศึกษารูปแบบและท่าทางการรํามวยโบราณประยุกต์ตามรูปแบบของ ชมรมมวยโบราณประยุกต์ จังหวัดสกลนคร ใช้การวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องการกับรํามวยโบราณ ประยุกต์จากสื่อเว็บไซต์ สื่อมัลติมีเดีย บันทึกภาพเคลื่อนไหวและเสียง และเอกสารเผยแพร่ของชมรมมวย โบราณ จังหวัดสกลนคร และการประเมินผลการใช้กล้ามเนื้อในท่ารํามวยโบราณประยุกต์ โดยผู้เชี่ยวชาญ จํานวน 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่และร้อยละ 2) การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการพัฒนานวัตกรรม พร้อมอุปกรณ์เสริมการรํามวยโบราณประยุกต์เพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้มและการบาดเจ็บในผู้สูงอายุ ชื่อ “รําเพลิน เดินบ่ล้ม” ที่ออกแบบโดยการดัดแปลงท่ารํา 6 ท่า ร่วมกับการใช้สนับข้อเท้าน้ําหนัก 0.5 กิโลกรัม การประเมินประสิทธิผลการใช้งานนวัตกรรมจากผลลัพธ์หลัก ได้แก่ มวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรง ของกล้ามเนื้อขาด้วยวิธี Sit to Stand ความสามารถในการทรงตัวด้วยวิธี Time Up and Go Test คุณภาพในการทรงตัวด้วยวิธี Berg Balance Scale และผลลัพธ์รอง ได้แก่ สัดส่วนของไขมันในร่างกาย ความทนทานของหัวใจและการหายใจด้วยวิธี Walk 2-minute test และระดับความกลัวการหกล้ม ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นบุคคลวัยก่อนสูงอายุและวัยสูงอายุ กลุ่มทดลองจํานวน 30 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ จํานวน 29 คน การทดลองใช้นวัตกรรมมีระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการ ทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ Independent t-test และ 3) การวิจัย ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพสื่อเสมือนจริงสําหรับถ่ายทอด นวัตกรรม การพัฒนาสื่อเสมือนจริงใช้วงจรการพัฒนาระบบ หรือ System Development Life Cycle (SDLC) 6 ขั้นตอน เพื่อพัฒนาสื่อเสมือนจริงที่ติดตั้งด้วยแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์ การประเมินประสิทธิภาพของสื่อเสมือนจริง ใช้การประเมินความพึงพอใจ 4 ด้าน ได้แก่ ด้าน เนื้อหา ด้านการออกแบบ ด้านความง่ายต่อการใช้งานหรือการปฏิสัมพันธ์และด้านการนําไปใช้ประโยชน์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบและท่าทางการรํามวยโบราณประยุกต์ตามรูปแบบของชมรมมวยโบราณจังหวัด สกลนคร มีท่ารํา 12 ท่า ท่ารําใช้กล้ามเนื้อทั่วร่างกาย จํานวน 15 ส่วน ในการเคลื่อนไหว ทั้งส่วน แกนกลางลําตัว ส่วนแขนและส่วนขากล้ามเนื้อที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ กล้ามเนื้อสะโพก (Gluteus muscle) กล้ามเนื้อต้นขาด้านหลัง (Hamstrings muscle) กล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้า (Quadriceps muscle) กล้ามเนื้อน่อง (Gastrocnemius muscle) กล้ามเนื้อหน้าแข้ง (Tibialis anterior muscle) 2) ประสิทธิผลของ “รําเพลิน เดินบ่ล้ม” ต่อการป้องกันการหกล้มและการบาดเจ็บ พบว่า ภายหลังใช้นวัตกรรม “รําเพลิน เดินบ่ล้ม” กลุ่มทดลองมีมวลกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา และความสามารถในการทรงตัว ดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p= 0.007, <0.001 และ <0.001 ตามลําดับ) นอกจากนี้ ผลลัพธ์รองคือ ความทนทานของหัวใจและการหายใจในกลุ่มทดลอง ดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเช่นกัน (p=0.001) 3) การพัฒนาแอปพลิเคชัน “AR Application: รําเพลิน เดินบ่ล้ม” สามารถติดตั้งได้บน อุปกรณ์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์รูปแบบการนําเสนอจะสามารถเปิดปิดเสียงที่ใช้ประกอบ และคําอธิบายรายละเอียดข้อมูลของโมเดลสามมิติแต่ละท่ารําได้ พร้อมทั้งได้แสดงวิธีการใช้งานของ แอปพลิเคชัน ผลการประเมินประสิทธิภาพพบว่า ความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด และ ประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (x̅ = 4.84, S.D. = 0.20)

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-
-
-
การหกล้ม, ผู้สูงอายุรํามวยโบราณ, สื่อเสมือนจริง, การออกกําลังกาย

เจ้าของผลงาน
อาจารย์ ดร. นำพร อินสิน
อาจารย์จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล, ผศ.ดร.กาญจนา วงษ์สวัสดิ์, อาจารย์ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ, อาจารย์ ดร. วิชชุดา ภาโสม, อาจารย์นพรักษ์ แกสมาน, อาจารย์แพรตะวัน จารุตัน, อาจารย์ ดร. นิภาพร ชนะมาร

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์ ดร. นำพร อินสิน ,อาจารย์จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล, ผศ.ดร.กาญจนา วงษ์สวัสดิ์, อาจารย์ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ, อาจารย์ ดร. วิชชุดา ภาโสม, อาจารย์นพรักษ์ แกสมาน, อาจารย์แพรตะวัน จารุตัน เเละ อาจารย์ ดร. นิภาพร ชนะมาร . (2567). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมท่าทางพร้อม อุปกรณ์เสริมการรํามวย โบราณประยุกต์เพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้มและการบาดเจ็บในผู้สูงอายุจังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.