งานวิจัย การพัฒนาเตาชีวมวลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในครัวเรือน


การพัฒนาเตาชีวมวลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในครัวเรือน

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาเตาชีวมวล เพื่อใช้ในครัวเรือน จากการใช้เชื้อเพลิงที่มีอยู่ภายใน ชุมชนเป็นหลัก โดดใช้ร่วมกับกระแสไฟฟ้ากระแสตรง ที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ จากการพัฒนาเตา ชีวมวล เพื่อใช้ในครัวเรือน โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ (1) ศึกษาการออกแบบเตาชีวมวล เพื่อใช้ในครัวเรือน จากการศึกษาพบว่าเตาพลังงานชีวมวลที่มีขนาดความจุ 60 ลิตร มีคุณสมบัติ เหมาะแก่การใช้ในครัวเรือน (2) การศึกษาการใช้พลังงานไฟฟ้ากระแสตรงที่ความต่างศักย์ที่เหมาะสม และปริมาณความร้อนที่เกิดขึ้นขณะเผาไหม้ โดยการเติมอากาศขณะเผาไหม้ พบว่าปริมาณความต่าง ศักย์ที่เหมาะสมมากที่สุดคือ 9 โวลต์ โดยมีช่วงอุณหภูมิ 600 - 900 องศาเซลเซียส ระยะเวลาเผา ไหม้ของเชื้อเพลิงเฉลี่ย 110 นาที (3) การศึกษาคุณสมบัติของเชื้อเพลิงที่เหมาะสมต่อการใช้งานพบว่า เชื้อเพลิงที่ใหประสิทธิภาพเชิงความร่อนสูงสุดคือซังขาวโพดซึ่งมีประสิทธิภาพเชิงความรอน 32.75% มากกวาการใช้ขี้เลื่อยเปนเชื้อเพลิง แตมีระยะเวลาการใชงานเพียง 90 นาที ซึ่งน่อยกวาขี้เลื่อยซึ่ง สามารถใช่ไดนานถึง 110 นาที เชื้อเพลิงที่ใหประสิทธิภาพเชิงความรอนต่ำสุดคือ ทะลายปาลมบด ซึ่ง มีประสิทธิภาพเชิงความร อน 15.36% และระยะเวลาการใชงานนอยที่สุดเพียง 80 นาที เมื่อ พิจารณาจากอุณหภูมิของเปลวไฟ พบวาเหงามันสำปะหลังมีอุณหภูมิใช่งานต่ำสุด แต่หากพิจารณา จากระยะเวลาการให้ความร้อนขณะเผาไหม้จะเห็นได้ว่า เชื้อเพลิงจากแกลบให้ความร้อนในช่วงเวลา น้อยที่สุด ที่ 70 นาที่ ซึ่งสามารถพิจารณาได้วาเปนเชื้อเพลิงที่มีความเหมาะสมน่อยที่สุด ดังนั้น การ ประยุกต์ใช้เตาพลังงานชีวมวลในการให้พลังงานความร้อน ที่ได้ในงานวิจัยนี้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใน การส่งเสริมและใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาพลังงานทดแทน และแปรรูปขยะเหลือทิ้งทาง การเกษตร เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับชุมชนในอนาคต

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
-
-
-
พลังงานชีวมวล, เตาชีวมวล, ถ่านไบโอชาร์, เทอร์โมคัปเปิล, แก๊สชิไฟเออร์

เจ้าของผลงาน
นายเทพกร ลีลาแต้ม
อาจารย์ ดร.อมรรัตน์ แท่งทอง, นางสาวนิรันตรี ทวีโคตร

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
นายเทพกร ลีลาแต้ม ,อาจารย์ ดร.อมรรัตน์ แท่งทอง เเละ นางสาวนิรันตรี ทวีโคตร . (2566). การพัฒนาเตาชีวมวลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในครัวเรือน. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.