งานวิจัย การออกแบบและพัฒนาใบปัดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับเครื่องหยอดข้าวนาแห้ง


การออกแบบและพัฒนาใบปัดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับเครื่องหยอดข้าวนาแห้ง

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวการวางจานหมุนเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีผลต่ออัตรา สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ของเครื่องหยอดเมล็ดข้าวนาแห้ง เครื่องหยอดข้าวนาแห้งมีขนาด 120 เซนติเมตร x 120 เชนติเมตร x 100 เซนติเมตร จานหมุนเมล็ดพันธุ์ข้าวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร น้ำหนักเครื่อง หยอดเมล็ดข้าว 100 กิโลกรัม โดยทดลองในพื้นที่แปลงนาแห้งขนาด 10 ไร่ ณ วิสาหกิจชุมชนอาสาทำนา อินทรีย์ อ.พรรณานิคม จ.สกลคร ใช้เวลาในการทดสอบ 5 ชั่วโมง ต่อพ่วงเข้ากับรถไถนาขนาด 24 แรงม้า ใช้ น้ำมันดีเชลทั้งหมด 10 ลิตร ระยะห่างของการหยอดข้าว 25 เซนติเมตร x 25 เชนติเมตร กำหนดให้แนวการ วางจานหมุนเมล็ดพันธุ์ข้าวมี 2 แบบคือแนวนอนและแนวตั้ง ความเร็วรอบเครื่องยนต์ที่ใช้ในการทดสอบคือ 1,500 2,000 และ 2,500 รอบต่อนาที จากการทดลองการวางจานหมุนเมล็ดพันธุ์ข้าวในแนวนอนใช้เมล็ด พันธุ์ข้าวเฉลี่ย 8.3 9.6 และ 10.4 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนการวางจานหมุนเมล็ดพันธุ์ข้าวในแนวตั้งใช้เมล็ดพันธุ์ ข้าวเฉลี่ย 5.2 6.5 และ 7.4 กิโลกรัมต่อไร่ จากการทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าการวางจานหมุนเมล็ดพันธุ์ข้าว ของเครื่องหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวนาแห้งในแนวตั้งสามารถประหยัดเมล็ดพันธุ์ข้าวได้ดีกว่าในแนวนอนคิดเป็น 37.35% 32.29% และ 28.85% ต้นทุนในการทำนาแบบเดิมใช้เงิน 3,200 บาทต่อไร่ ต้นทุนในการทำนาโดย การใช้เครื่องหยอดเมล็ดข้าวนาแห้งใช้เงิน 1,500 บาทต่อไร่ คิดเป็นการลดต้นทุนถึง 53.13% และ สามารถ คืนทุนในการใช้เครื่องหยอดเมล็ดข้าวได้ภายในระยะเวลา 10 วัน

ทุนวิจัยงบรายได้
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
-
-
-
เครื่องหยอดข้าว, ข้าวนาแห้ง, จานหมุนเมล็ดพันธุ์ข้าว, ระยะเวลาคืนทุน

เจ้าของผลงาน
ผศ.สุวิพงษ์ เหมะธุลิน
ผศ.ธฏษธรรมช์ สาโสภา

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.สุวิพงษ์ เหมะธุลิน เเละ ผศ.ธฏษธรรมช์ สาโสภา . (2566). การออกแบบและพัฒนาใบปัดเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับเครื่องหยอดข้าวนาแห้ง. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.