งานวิจัย “หง่อนหลำ สื่อล้ำความอร่อย” : การพัฒนาสื่อเสมือนจริงอาหารพื้นถิ่นเพื่อสุขภาพของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม จังหวัดสกลนคร


“หง่อนหลำ สื่อล้ำความอร่อย” : การพัฒนาสื่อเสมือนจริงอาหารพื้นถิ่นเพื่อสุขภาพของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม จังหวัดสกลนคร

การจัดทำนวัตกรรมตันแบบนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม สื่อเสมือนจริงสำหรับถ่ายทอดภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเพื่อสุขภาพของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัด สกลนครู รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับอาหารพื้นถิ่นของชาวไทยเชื้อสาย เวียดนามจังหวัดสกลนคร โดยการสนทนากลุ่มกับตัวแทนชาวไทยเชื้อสายเวียดนามจำนวน 8 คน และการ สัมภาษณ์เชิงลึกกับชาวไทยเชื้อสายเวียดนามจำนวน 2 คน ระยะที่ 2 การจัดทำข้อมูลคุณค่าทาง โภชนาการและประโยชน์ต่อสุขภาพของอาหารพื้นถิ่นของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม โดยเทียบเคียงข้อมูล กับการทบทวนเอกสารและใช้ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ระยะที่ 3 การพัฒนาสื่อเสมือน จริงและประเมินประสิทธิภาพเบื้องต้น โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และระยะที่ 4 การประเมินประสิทธิภาพ การใช้งานสื่อเสมือนจริงด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจจากประชาชนกลุ่มตัวอย่างผู้ทดลองใช้จำนวน 100 คน ผลการวิจัย พบว่า นวัตกรรมสื่อเสมือนจริงสำหรับถ่ายทอดภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเพื่อสุขภาพ ของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามในจังหวัดสกลนคร ใช้ชื่อนวัตกรรมว่า "AR หง่อนหลำสื่อล้ำความอร่อย" ที่ พัฒนาตามวงจรการพัฒนาระบU (SDLC) เป็นการใช้สื่อเสมือนจริงมาแสดงข้อมูลอาหารเพื่อสุขภาพของ ชาวไทยเชื้อสายเวียดนามจำนวน 5 เมนู ประกอบด้วยข้อมูลชื่ออาหารภาษาไทยและภาษาเวียดนาม ส่วนประกอบ และคุณค่าทางโภชนาการของอาหารนั้น สื่อเสมือนจริงถูกพัฒนา 2 ส่วนหลัก คือ 1) การ พัฒนาแอปพลิคชันด้วยภาษา (# โปรแกรม Unity 3D และ โปรแกรม Vuforia SDK การแสดงผลของ โมเดลเมนูอาหารสร้างโมเดลด้วยโปรแกรม Sketch Up แอปพลิเคชันสามารถแสดงผลได้ตามที่ออกแบบไว้ และใช้งานได้กับอุปกรณ์สมาร์ทโฟนที่เป็นระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และ 2) การพัฒนา Marker ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop และโปรแกรม Adobe Illustrator เพื่อให้สามารถใส่รหัสโดย Marker ที่ สร้างระบุตำแหน่งการอ่านโมเดลเมนูอาหาร และสร้าง OR CODE สำหรับติดตั้งแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์ สำหรับ ผลการประเมินประสิทธิภาพเบื้องต้นของนวัตกรรม "AR หง่อนหลำสื่อล้ำความอร่อย" 4 ด้าน ได้แก่ เนื้อหา การออกแบบ ความง่ยต่อการใช้งานหรือการปฏิสัมพันธ์ และการนำไปใช้ประโยชน์ โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน พบว่า ประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (3=4.64, S.D.=0.43) โดยด้าน การนำไปใช้ประโยชน์ได้ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X=4.80, .D. =0.45) นอกจากนี้ การประเมินประสิทธิภาพการ ใช้งาน "AR หง่อนหลำสื่อล้ำความอร่อย" พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้งานในภาพรวมอยู่ ในระดับมาก (X =4.49, S.D.=-0.65) ดังนั้นนวัตกรรม "AR หง่อนหลำสื่อล้ำความอร่อย" จึงสามารถ นำไปใช้งานได้จริงในการถ่ายทอดภูมิปัญญาอาหารพื้นถิ่นเพื่อสุขภาพของชาวไทยเชื้อสายเวียดนามใน จังหวัดสกลนครต่อไป

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาธารณสุขศาสตร์
-
-
สื่อเสมือนจริง, อาหารเพื่อสุขภาพ, อาหารพื้นถิ่น, ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม

เจ้าของผลงาน
อาจารย์ ดร.นำพร อินสิน
อาจารย์ ดร.จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล, อาจารย์ ดร.นิภาพร ชนะมาร, ผศ.ดร.กาญจนา วงษ์สวัสดิ์

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์ ดร.นำพร อินสิน ,อาจารย์ ดร.จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล, อาจารย์ ดร.นิภาพร ชนะมาร เเละ ผศ.ดร.กาญจนา วงษ์สวัสดิ์ . (2566). “หง่อนหลำ สื่อล้ำความอร่อย” : การพัฒนาสื่อเสมือนจริงอาหารพื้นถิ่นเพื่อสุขภาพของชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.