งานวิจัย การใช้ระบบสมองกลฝังตัวในนวัตกรรม Healthy FITT เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย


การใช้ระบบสมองกลฝังตัวในนวัตกรรม Healthy FITT เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย

การศึกษาวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินการใช้ระบบสมองกลฝัง ตัวในนวัตกรรม Healthy FITT เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย การวิจัยมี 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการ พัฒนานวัตกรรมเพลง Healthy FITT สำหรับการออกกำลังกาย ด้วยการนำท่าทางในชีวิตประจำวันมา แต่งเป็นเนื้อเพลง ใส่ทำนองดนตรีให้สนุกสนาน ตามหลักการออกกำลังกาย คือ จังหวะช้า สำหรับการ อบอุ่นร่างกายและการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ จังหวะเร็ว สำหรับช่วงออกกำลังกาย กำหนดให้เพลงมี 3 ระดับ คือ ความยาวของเพลง 10 นาที 15 นาที และ 20 นาที นำไปทดลองใช้ กับชมรมแอโรบิคสกลนคร เมืองทอง จำนวน 15 คน สำหรับประเมินความพึงพอใจต่อนวัตกรรมเพลง Healthy FITT ระยะที่ 2 เป็น การพัฒนาเครื่องระบบสมองกลฝังตัว สำหรับใส่นวัตกรรมเพลง Healthy FITT มี 2 แบบ คือ แบบติดตั้ง และแบบพกพา แบบติดตั้งเป็นการประยุกต์ตู้ลำโพงที่ใช้อยู่ทั่วไป ประกอบด้วยเครื่องเล่นมัลติมิเดีย แบบจอ สัมผัส รองรับการเชื่อมต่อแบบบลูทูธ 5.0 มีแหล่งพลังงานทั้งจากไฟฟ้าปกติ พลังงานสำรองภายในและแหล่ง พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ ส่วนเครื่ องพกพา ขนาดเบากะทั ดรัด ควบคุมการทำงานด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP8266 และ Vibration Sensor Module สำหรับการตรวจจับการเคลื่อนไหว ทั้งสอง เครื่องสามารถเลือกระดับเพลงได้ การทดสอบความตรงของเครื่อง ประกอบด้วย การนำนวัตกรรมเพลง Healthy FIT เข้าระบบตัวเครื่อง จากนั้นทำการทดสอบระบบการทำงาน คุณภาพเสียง ระยะเวลาใช้ งาน และระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวของเครื่องสำหรับพกพา จำนวน 10 ครั้ง การทดสอบประสิทธิภาพ การใช้ระบบสมองกลฝังตัวในนวัตกรรม Healthy FIT ใช้เครื่องแบบติดตั้ง โดยทำการทคลองกับกลุ่ม ตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงมะไฟ สามัคคี ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 14 คน กำหนดโปรแกรมออกกำลังกายตามหลัก FITT (ความถี่ 3-5 วันต่อสัปดาห์ ความหนักระดับปานกลางถึงหนัก ชนิดการออกกำลังกายแบบแอโรบิค และมีระยะเวลา 15 -20 นาที) ระยะเวลา 4 สัปดาห์ วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกาย ได้แก่ สมรรถภาพปอด ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัว และภาวะสุขภาพ ได้แก่ อาการปวด ก่อน และหลังการทดลอง โปรแกรมออกกำลังกายประกอบด้วย สัปดาห์ที่ 1 ออกกำลังกายด้วยนวัตกรรมเพลง Healthy FITT 1 (10 นาที) สัปดาห์ที่ 2 Healthy FITT 2 (15 นาที) สัปดาห์ที่ 3 Healthy FITT 3 (20 นาที) มีความถี่ 3 วันต่อสัปดาห์ และสัปดาห์ที่ 4 Healthy FITT 3 (20 นาที) ความถี่ 5 วันต่อสัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล สมรรถภาพทางกาย และความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม Healthy FITT วิคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบ สมรรถภาพทางกาย ก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติ pair t-test ผลการศึกษาพบว่า นวัตกรรมเพลง Heatthy FITT ประกอบด้วยท่ทางในกิจกรรมประจำวัน ทั้งหมด 28 ท่า มีทั้งหมด 3 เพลง คือ Healthy FITT 1 ระยะเวลา 10 นาที จำนวน 12 ท่า Healthy FIT 2 ระยะเวลา 15 นาที จำนวน 20 ท่ และ Healthy FITT 3 ระยะเวลา 20 นาที ผลการประเมิน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านดนตรีและจังหวะ (X = 4.72, S.D. = 0.30) ด้านการนำไปใช้งาน (X= 4.72, S.D. = 0.32) และด้านเนื้อหาเพลง (X = 4.68, S.D. = 0.33) และคำแนะนำสำหรับการใช้งาน คือ การออกแบบท่าทางตามนวัตกรรม Healthy FITT ให้การออกกำลังกายในชุมชนง่ายขึ้น ส่วนเครื่องระบบ สมองกลแบบพกพา มีค่าความเที่ยงตรงของการตรวจจับการเคลื่อนไหวที่ 0.71 เครื่องระบบสมองกลแบบ ติดตั้งถูกนำไปใช้ในโปรแกรมออกกำลังกายด้วยนวัตกรรมเพลง Healthy FIT พบว่าหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถภาพปอด และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาเพิ่มขึ้น แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ ส่วนสมรรถภาพความอ่อนตัว อาการปวด ประเมินก่อนและหลังการทดลอง ไม่มีความแตกต่างอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการใช้ระบบสมองกลฝังตัวในนวัตกรรม Healthy FITT อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ตัวเครื่องใช้งานง่าย ระบบไม่ซับซ้อน (X= 4.70, S.D. = 0.48) นวัตกรรม เพลง บทพูด คำร้องมีความชัดเจน (X= 4.76, S.D. = 0.43) และนวัตกรรมมีความปลอดภัยในการ นำไปใช้จริง (X= 4.70, S.D. = 0.48)

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาธารณสุขศาสตร์
-
-
ระบบสมองกล, นวัตกรรม, Healthy FITT, ส่งเสริมการออกกำลังกาย

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร.ณีรนุช วรไธสง
อาจารย์ ดร.ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม, อาจารย์ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ, อาจารย์จุลศักดิ์ โยลัย

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร.ณีรนุช วรไธสง ,อาจารย์ ดร.ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม, อาจารย์ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ เเละ อาจารย์จุลศักดิ์ โยลัย . (2566). การใช้ระบบสมองกลฝังตัวในนวัตกรรม Healthy FITT เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.