สายผูกยึดผู้ป่วย Fix Sure Alarms
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต้นแบบ และศึกษาความเป็นไปได้และความพึง พอใจต่อการใช้งานของนวัตกรรมสายผูกยึดผู้ป่วยแบบ Fix Sure Alarms กลุ่มตัวอย่างได้แก่พยาบาล วิชาชีพในหอผู้ป่วยที่ใช้สายผูกยึดผู้ป่วยตามเกณซ์ พิจารณาการผูกยึด ได้แก่ มีอาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย พยายามดึงท่อช่วยหายใจหรือสายสวนต่าง ๆ หรืออาละวาดรุนแรง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นสายผูกยึดผู้ป่วยแบบ Fx Sure Alarmที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมต้นแบบ และความเป็นไปได้ต่อการนำไปใช้ กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.43 (SD - 0.56) ด้านคุณลักษณะของนวัตกรรมเป็น ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด รองลงมาคือด้านการออกแบบนวัตกรรม ค่าเฉลี่ย 4.48 (SD = 0.54) และด้านคุณภาพของนวัตกรรม ค่าเฉลี่ย 4.39 (SD = 0.65) เมื่อพิจารณารายข้อที่มีคะแนน เฉลี่ยความพึงพอใจมากที่สุด ได้แก่ วัสดุที่ใช้ระบายอากาศได้ดี ค่าเฉลี่ย 4.71 (SD = 0.49) วัสดุที่ใช้ไม่ทำ เกิดการระคายเคืองต่อผิวผู้ป่วย ค่าเฉลี่ย 4.71 (SD = 0.49) การจัดเก็บและเคลื่อนย้ายสะดวก ค่าเฉลี่ย 4.71 (SD = 0.49) ส่วนรายข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ วัสดุที่ใช้มีความแข็งแรง ทนทาน ค่าเฉลี่ย 4.00 (SD = 0.63) ความสะดวกในการปฏิบัติงานเมื่อใช้อุปกรณ์ ค่าเฉลี่ย 4.29 (SD = 0.75) และระบบ การแจ้งเตือน ค่าเฉลี่ย 4.29 (SD = 0.45) ดังนั้นจึงควรพัฒนาให้สายผูกยึดมีความแข็งแรงเหมาะกับผู้ป่วย ที่มีแรงกำลังมาก และระบบการแจ้งเตือนให้ใช้ได้สะดวกและง่ายไม่เป็นอุปสรรคต่อการรักษา