งานวิจัย การพัฒนาระบบการจัดการของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


การพัฒนาระบบการจัดการของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางการจัดการและการแก้ไขปัญหาของเสียอันตราย จากสารเคมี ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการ แก่นักศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการสาขาวิชาเคมี โดยรวบรวมข้อมูลปริมาณ ของเสียสารเคมีที่มีอยู่ วิเคราะห์ปัญหาที่ก่อให้เกิดของเสียสารเคมี พัฒนาแนวทางการจัดการและ แก้ไขปัญหา ผลการวิจัยพบว่า ห้องปฏิบัติการสาขาวิซาเคมี มีปริมาณของเสียสารเคมีรวมทั้งหมด 770 กิโลกรัม ตามกณฑ์การแยกประเภทของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการของคณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยของเสียสารเคมีที่เกิดขึ้น เกิดจากการสะสมเป็น ระยะเวลานานและขาดระบบการจัดการของเสียสารเคมีที่เหมาะสมในการเก็บของเสีย การลดการเกิด ของเสีย และการบำบัดและการกำจัดของเสีย ซึ่งปริมาณของเสียสารเคมีทั้งหมดถูกส่งบำบัดและกำจัด โดยบริษัทรับกำจัดสารเคมี นอกจากนี้ระบบการจัดการที่พัฒนาขึ้น ถูกนำไปใช้ในการบริหารจัดการ ของเสียสารเคมีในสาขาวิชาเคมี ส่งผลให้นักศึกษาสาขาวิชาเคมี มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการ ของเสียสารเคมีมากยิ่งขึ้น และยังพบว่าแนวทางการจัดการที่สร้างขึ้นส่งผลให้คะแนนความปล อดภัย ในห้องปฏิบัติการ (ในหัวข้อ ระบบการจัดการของเสีย) ตามมาตรฐานคุณภาพความปลอดภัย ห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReLCheckis) ร้อยละก่อนการพัฒนาระบบ 49.20 เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 84.13 ประเมินโดยใช้รายการตรวจสอบตามมาตรฐานการปรับปรุงการปฏิบัติงาน ด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิจัยของประเทศไทย

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เคมี
-
-
ของเสียอันตราย, สารเคมี, การจัดการของเสีย, ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

เจ้าของผลงาน
นายเอกพร ธรรมยศ
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
นายเอกพร ธรรมยศ . (2566). การพัฒนาระบบการจัดการของเสียอันตรายจากสารเคมีในห้องปฏิบัติการ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.