คู่มือปฏิบัติงาน เรื่อง การบริหารจัดการความเสี่ยง
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 พัฒนาคู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัดการความเสี่ยง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2 ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือปฏิบัติงานการ บริหารจัดการความเสี่ยง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ อาจารย์ ผู้บริหาร 7 คน และบุคลากรสายสนับสนุน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือปฏิบัติงานและแบบประเมิน ความพึงพอใจ ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. พัฒนาคู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัดการความเสี่ยง มีระบบและขั้นตอน การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ชัดเจน มีตัวอย่างวิธีการระบุความเสี่ยง วิธีกำหนดปัจจัยความเสี่ยง และมีแผนผังการปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพของคู่มือผ่านเกณฑ์ 80/80 ตามที่กำหนด (E,81.83/Ez 85.87) 2. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือปฏิบัติงานที่สร้างขึ้นโดยรวมอยู่ใน ระดับมาก