งานวิจัย คู่มือปฏิบัติงานการลงทะเบียนเพิ่ม - ถอนรายวิชา


คู่มือปฏิบัติงานการลงทะเบียนเพิ่ม - ถอนรายวิชา

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานการลงทะเบียนเพิ่ม-ถอน รายวิชา 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองการใช้คู่มือปฏิบัติงานการลงทะเบียนเพิ่ม-ถอนรายวิชา 3) เพื่อ ศึกษาความพึงพอใจในการใช้คู่มือปฏิบัติงานการลงทะเบียนเพิ่ม-ถอนรายวิชา การดำเนินการวิจัยแบ่ง ออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาคู่มือปฏิบัติงานการ ลงทะเบียนเพิ่ม-ถอนรายวิชาเรียนเก็บข้อมูลด้วยการใช้แบบบันทึกการสังเกต 2) ศึกษาผลการใช้งาน คู่มือการปฏิบัติงานการลงทะเบียนเพิ่ม-ถอนรายวิชา โดยการใช้แบบบันทึกผลการประเมินการใช้คู่มือ 3) ประเมินความพึงพอใจของการใช้คู่มือการปฏิบัติงานด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย บุคลากรสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน จำนวน 10 คน สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. สภาพปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ที่ ปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการนักศึกษาในการลงทะเบียนจำนวน 2 ราย ไม่เพียงพอต่อการให้บริการ นักศึกษาในช่วงลงทะเบียนเรียนซึ่งมีจำนวนประมาณ 2,000 รายการ และต้องดำเนินการให้เรียบร้อย ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ของการเปิดภาคเรียน 2. ผลการใช้งานคู่มือการปฏิบัติงานด้านการลงทะเบียนโดยการสังเกตการปฏิบัติงานจาก การใช้คู่มือและบันทึกผล พบว่าบุคลากรสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนจำนวน 10 ราย สามารถดำเนินการเพิ่ม ถอนถูกต้องตามข้อที่กำหนดไว้ 8 ข้อ จำนวน 10 ราย 3. ความพึงพอใจของการใช้งานคู่มือการลงทะเบียนเพิ่ม-ถอนรายวิชาโดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก (x=3.93, S.D.=.80)

ทุนวิจัยงบรายได้
สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
-
-
-
คู่มือการปฏิบัติการ, การลงทะเบียนเรียน

เจ้าของผลงาน
นางวาสนา บุตรสีผา
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
นางวาสนา บุตรสีผา . (2566). คู่มือปฏิบัติงานการลงทะเบียนเพิ่ม - ถอนรายวิชา. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
งานวิจัยเพิ่มเติม (เจ้าของผลงาน)

สถิติการเข้าชม