งานวิจัย แนวทางและความต้องการในการจำหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น้ำสาขาวิชาการประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


แนวทางและความต้องการในการจำหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น้ำสาขาวิชาการประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดจำหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น้ำ และ เพื่อ สำรวจความต้องการลูกพันธุ์สัตว์น้ำ สาขาวิชาการประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตร หาวิทยาสัย ราชภัฏสกลนคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามความต้องการซื้อลูกพันธุ์สัตว์น้ำ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร สายวิชาการและสาย สนับสนุนวิชาการ จำนวน 280 คน โดยใช้สูตรคำนวณของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และค่าร้อยละ การวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครทั้งสายวิชาการและ สายสนับสนุนวิชาการ มีความต้องการซื้อลูกพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 274 คน และไม่ต้องการ 6 คน คิด เป็นร้อยละ 97.85, 2.14 และมีความต้องการซื้อลูกพันธุ์ปลานิลจำนวมากที่สุด จำนวน 121 คน รองลงมาเป็นลูกพันธุ์ปลาตะเพียน 61 คน ลูกพันธุ์ปลาคาร์ฟ จำนวน 53 คน และ ลูกกบ จำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 43.21, 21.79, 18.93 และ 14.29 ส่วนแนวทางการจัดจำหน่ายและการใช้เงิน รายได้ให้เป็นไปตามระเบียบ ข้อบังคับ ของมหาวิทยาลัย

ทุนวิจัยงบรายได้
เทคโนโลยีการเกษตร
-
-
-
แนวทางการจำหน่าย, ความต้องการซื้อลูกพันธุ์สัตว์น้ำ

เจ้าของผลงาน
นายอรัญ บุตรนา
นางสาวสกลสุภา เจนศิริวงษ์

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
นายอรัญ บุตรนา เเละ นางสาวสกลสุภา เจนศิริวงษ์ . (2566). แนวทางและความต้องการในการจำหน่ายลูกพันธุ์สัตว์น้ำสาขาวิชาการประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.