งานวิจัย กระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือทิ้งในสวนยางพาราและการถ่ายทอดผ่านเทคโนโลยีอินโฟกราฟิก


กระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือทิ้งในสวนยางพาราและการถ่ายทอดผ่านเทคโนโลยีอินโฟกราฟิก

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและทดสอบประสิทธิภาพเชิงความร้อนของถ่านอัดแท่งที่ ผลิตจากวัสดุเหลือทิ้งจากสวนยางพารา และทำกาวิเคราะห์ออกแบบการถ่ายทอดกระบวนการผลิต ถ่านอัดแท่งผ่านเทคโนโลยีอินโฟกราฟิก ในการผลิตถ่านอัดแท่งนั้นจะใช้เศษกิ่งไม้ยางพารา และ เปลือกเมล็ดยางพารา โดยใช้แป้งมันเป็นตัวประสาน นำกิ่งไม้ยางพารา และ เมล็ดยางพาราไปตาก แดดให้แห้ง จากนั้นไปเผาจนเป็นถ่านและบดให้ละเอียด นำไปผสมกับแป้งมันและน้ำ ทั้งหมด 3 สูตร คือสูตรที่ 1 กิ่งไม้ยางพารา : แป้งมัน : น้ำ ในอัตราส่วน คือ 2 k:250g :1,400ml, สูตรที่ 2 เปลือกเมล็ดยางพารา : แป้งมัน : น้ำ ในอัตราส่วน คือ 2 kg: 250g :1,000ml, และสูตรที่ 3 กิ่งไม้ ยางพารา ะเปลือกเมล็ดยางพารา: แป้งมัน : น้ำ ในอัตราส่วน คือ 1 kg: 1 kg: 250 g :1,200 ml, ตามลำดับ แล้วอัดขึ้นรูป นำถ่านที่ได้ไปตากแดดให้แห้ง และทดสอบหาคุณสมบัติทางด้านความร้อน ต่างๆ คือ ค่าความร้อน ปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้า อุณหภูมิการเผาไหม้เฉลี่ย และระยะเวลาการ เผาไหม้ ผลการทดสอบพบว่า สูตรที่ 1 คือ มีค่าความร้อน 6,853.21 kcalkg มีปริมาณความชื้น 4. 804 % มีปริมาณเถ้า 26250 % มีอุณหภูมิการเผาไหม้เฉลี่ย 250.63 ' C และระยะเวลาการเผา ไหม้จนเป็นเถ้าเฉลี่ย 160 นาที สูตรที่ 2 มีค่าความร้อน 8,127.21 kcalkg มีปริมาณความชื้น 4.37% มีปริมาณเถ้า 26.250 % มีอุณหภูมิการเผาไหม้เฉลี่ย 270. 2" C และระยะเวลาการเผาไหม้ จนเป็นเถ้าเฉลี่ย 180 นาที สูตรที่ 3 มีค่าความร้อน 7,657.40 kcal/ks มีปริมาณความชื้น 9,485 % มีปริมาณเถ้า 26.641 % มีอุณหภูมิการเผาไหม้เฉลี่ย 258 C และระยะเวลาการเผาไหม้จนเป็น เถ้าเฉลี่ย 180 นาที จะเห็นได้ว่าสูตรที่ 2 มีประสิทธิภาพเชิงความร้อนที่ดีที่สุด จากทั้ง 3 อัตราส่วนที่ ผลิตขึ้นมา เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช. 238/2547) สามารถใช้หุงตัมได้ดี ไม่มีการ แตกประทุ ติดไฟได้ดี มีเขม่าและมีควันเล็กน้อย หลังจากนั้นผู้วิจัยทำการออกแบบการถ่ายทอดองค์ ความรู้ผ่านเทคโนโลยีอินโฟกราฟิก แด่ที่ผู้สนใจสามารถเรียกดูได้เรียกดูได้ในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย โดยมีการประเมินประสิทธิภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยแบ่งเป็น ด้านเนื้อหา จำนวน 1 คน ด้านการออกแบบสื่อ จำนวน 2 คน ด้านการนำเสนอสื่อ จำนวน 2 คน พบว่าผลรวมการประเมินประสิทธิภาพสื่ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ค่าเฉลี่ย 4.93 คะแนน และนำสื่อที่ได้ไปประเมินความ พึงพอใจโดยผู้ที่สนใจจำนวน 30 คน ปรากฎว่า ผลรวมการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ค่าเฉลี่ย 4.48 คะแนน

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ฟิสิกส์
-
-
ถ่านอัดแท่ง, เชื้อเพลิงอัดแท่ง, เปลือกเมล็ดยางพารา, อินโฟกราฟิก

เจ้าของผลงาน
อาจารย์ ดร.วิชชุดา ภาโสม
อาจารย์แพรตะวัน จารุตัน

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์ ดร.วิชชุดา ภาโสม เเละ อาจารย์แพรตะวัน จารุตัน . (2566). กระบวนการผลิตถ่านอัดแท่งจากวัสดุเหลือทิ้งในสวนยางพาราและการถ่ายทอดผ่านเทคโนโลยีอินโฟกราฟิก. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.