งานวิจัย ประสิทธิผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับให้ความรู้และลดความรุนแรงของอาการ ออฟฟิศซินโดรม : กรณีศึกษากลุ่มบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


ประสิทธิผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับให้ความรู้และลดความรุนแรงของอาการ ออฟฟิศซินโดรม : กรณีศึกษากลุ่มบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยแบบกึ่งทดโดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลแอปพลิเค ชันบนสมาร์ทโฟนสำหรับการลดอาการปวดของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของ ผู้ใช้แอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนสำหรับแจ้งเตือนและสำหรับลดอาการปวดของกลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม กลุ่มตัวอย่างบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ 6-8 ชั่วโมง ต่อวัน มีอาการปวด กล้ามเนื้อ 8ตำแหน่งได้แก่ คอ ไหล่ หลัง ข้อมือ เอว สะโพก ขา และน่อง ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ เปรียบเทียบด้วยสถิติ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มบุคลากรมหวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 30 คน ก่อนการใช้งานแอป พลิเคชัน มีคะแนนเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดเท่ากับ 26.4 (SD = 17.5) กับ หลังการใช้งานแอปพลิเคซันมี คะแนนเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดเท่ากับ 1 1.7 (SD - 9.2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลัง ใช้แอปพลิเคชัน พบว่า ก่อนการใช้แอปพลิเคชันมีค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดมากกว่าหลังการใช้แอปพลิเคชัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะ ควรมีการจัดส่งเสริมให้บุคลากรที่ทำงนห้าจอคอมพิวเตอร์ได้ใช้แอปพลิเคชันเพื่อเป็น การส่งเสริมสุขภาพให้บุคลากรลดอาการเจ็บปวดจากออฟฟิศซินโดรม

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิทยาการคอมพิวเตอร์
-
-
ออฟฟิศซินโดรม, แอปพลิเคชัน, สกลนคร

เจ้าของผลงาน
อาจารย์ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ
อาจารย์ ดร.นิภาพร ชนะมาร

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ เเละ อาจารย์ ดร.นิภาพร ชนะมาร . (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับให้ความรู้และลดความรุนแรงของอาการ ออฟฟิศซินโดรม : กรณีศึกษากลุ่มบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.