งานวิจัย การประเมินศักยภาพชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคโควิด - 19 ในกลุ่มจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 8


การประเมินศักยภาพชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคโควิด - 19 ในกลุ่มจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 8

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 และเปรียบเทียบความแตกต่างของศักยภาพชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 ระหว่าง พื้นที่การระบาดสูงและพื้นที่การระบาดต่ำในจังหวัดเขตสุขภาพที่ 8 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิง สำรวจแบบภาคตัดขวาง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการ ระบาดของโรคโควิด-19 สูง จำนวน 206 คน และ พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 ต่ำ จำนวน 178 คน รวมเป็น 384 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบ ประเมินศักยภาพชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดย มีการประเมิน 3 ด้าน คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคโควิด- 19 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยศักยภาพชุมชนด้านความรอบรู้สุขภาพในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 พบว่า ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่การระบาดสูงและพื้นที่การระบาดต่ำ ส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้ สุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 40.8 ( X = 58.1 S.D.= 10.4) และร้อยละ 35.4 ( = 62.4 S.D.-11.7) ตามลำดับ ด้านการรับรู้ด้านสุขภาพในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 พบว่า ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่การระบาดสูงส่วนใหญ่และพื้นที่การระบาดต่ำ มีระดับการรับรู้สุขภาพอยู่ใน ระดับปานกลาง ร้อยละ 60.2 ( = 86.8 S.D.= 7.2) และ ร้อยละ 70.2 ( = 90.4 S.D.=8.4) ตามลำดับ ด้านพฤติกรรมในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 พบว่า ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่การ ระบาดสูงส่วนใหญ่มีระดับพฤติกรรมในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 54.3 ( X = 26.1 S.D.- 4.6) ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่การระบาดต่ำส่วนใหญ่มีพฤติกรรมใน การเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-19 อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 51.1 ( = 28.3 S.D.=4.5) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างศักยภาพชุมชนในการเฝ้าระวังและ ป้องกันโรคโควิด -19 ระหว่างพื้นที่การ ระบาดชุมชนสูงและพื้นที่การระบาดต่ำ โดยมีคะแนนความรอบรู้สุขภาพ การรับรู้ด้านสุขภาพ และ พฤติกรรมในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด-1 ในพื้นที่การระบาต่ำสูงกว่าพื้นที่การระบาดสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001, p <0.001 และ p <0.001 ตามลำดับ)

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาธารณสุขศาสตร์
-
-
ศักยภาพชุมชน, ความรอบรู้สุขภาพ, การรับรู้สุขภาพ, พฤติกรรม, ป้องกันโรคโควิด-19

เจ้าของผลงาน
อาจารย์ ดร.จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล
อาจารย์ ดร.นำพร อินสิน

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์ ดร.จรินทร์ทิพย์ ชมชายผล เเละ อาจารย์ ดร.นำพร อินสิน . (2566). การประเมินศักยภาพชุมชนในการเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคโควิด - 19 ในกลุ่มจังหวัดในเขตสุขภาพที่ 8. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.