งานวิจัย การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในแป้งปลายข้าวกล้อง


การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในแป้งปลายข้าวกล้อง

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของ แป้งปลายข้าวกล้อง 4 ชนิด คือ ข้าวผสม ข้าวเจ้าแดง ข้าวเจ้ามะลิ 105 และข้าวเหนียวอุบลราชธานี การวิเคราะห์หาคุณค่าทงโภชนาการ ได้แก่ ปริมาณความชื้น โปรตีน คาร์โบไฮเดร ไขมันและไฟเบอร์ ผลการศึกษาพบว่า แป้งปลายข้าวผสมมีปริมาณโปรตีน (8.46%) และไฟเบอร์สูงที่สุด (26.569) แต่ มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตน้อยที่สุด (58.36%) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างข้าวเจ้ามะลิ 105 และข้าว เหนียวอุบลราชธานี พบว่า ข้าวเหนียวอุบลราชธานีมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ต่ำกว่าแต่มีไฟเบอร์ที่สูง กว่าข้าวเจ้ามะลิ 105 นอกจากนี้ยังพบว่า ข้าวเจ้าแดงและข้าวเจ้ามะลิ 105 มีปริมาณโปรตีนที่ไม่ แตกต่างกัน แต่ข้าวเจ้าแดงปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่ต่ำกว่าและไฟเบอร์ที่สูงกว่าข้าวเจ้ามะลิ 105 การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า แป้งปลายข้าวผสมมีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุด รองลงมาคือ ข้าวเจ้า แดง ข้าวเหนียวอุบลราชธานี และข้าวเจ้ามะลิ 105 ตามลำดับผลการการวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ทาง ชีวภาพของแป้งปลายข้าวกล้อง 4 ชนิด ที่สกัดสารด้วยตัวทำละลายเอทานอลด้วยวิธีการสกัดด้วยคลื่น เสียง พบว่า ข้าวผสมมีปริมาณนอลิกและฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงที่สุด รองลงมาคือ ข้าวเจ้าแดง ข้าวเจ้ามะลิ 105 และข้าวเหนียวอุบลราชธานี ตามลำดับ นอกจากนี้ข้าวเหนียวอุบลราชธานี มีปริมาณ สารกาบามากที่สุด รองลงมาคือ ข้าวเจ้ามะลิ 105 ข้าวเจ้าแดง และข้าวผสม การศึกษาฤทธิ์การต้าน อนุมูลอิสระของสารสกัดแป้งปลายข้าวกล้อง 4 ชนิด ด้วยวิธี DPPH radical scanvenging พบว่า สาร สกัดแป้งปลายข้าวเจ้ามะลิ 105 มีร้อยละการยับยั้งสูงที่สุด (82.90%6) การศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูล อิสระด้วยวิธี ABT+ radical scanvenging พบว่า สารสกัดแป้งปลายข้าวผสมและข้าวเหนียว อุบลราชธานีมีร้อยละการยับยั้ง (96Inhibition) สูงที่สุด (95.84%, 95.83%) และจากการศึกษาฤทธิ์ การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี Ferric ion reducing antioxidant power (FRAP) พบว่า สารสกัดแป้ง ปลายข้าวเหนียวอุบลราชธานี มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงที่สุด (105.95 me/g crude extract)

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชีววิทยา
-
-
แป้งปลายข้าวกล้อง, คุณค่าทางโภชนาการ, สารสกัดจากเอทานอล, ฤทธิ์ทางชีวภาพ

เจ้าของผลงาน
นางเนตรนภา พนมเขตร์
อาจารย์ ดร.กุลวดี สุวรรณไตรย์

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
นางเนตรนภา พนมเขตร์ เเละ อาจารย์ ดร.กุลวดี สุวรรณไตรย์ . (2566). การศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในแป้งปลายข้าวกล้อง. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.