งานวิจัย การคัดเลือกและการประเมินคุณสมบัติการเป็นโพรไบโอติกของแบคทีเรียแลคติกที่คัดแยกได้จากผลิตภัณฑ์ส้มเท้าวัว


การคัดเลือกและการประเมินคุณสมบัติการเป็นโพรไบโอติกของแบคทีเรียแลคติกที่คัดแยกได้จากผลิตภัณฑ์ส้มเท้าวัว

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและคัดเลือกแบคทีเรียแลคติกที่มีสมบัติเป็นจุลินทรีย์โพรไบโอติกจาก ผลิตภัณฑ์ส้มเท้าวัวจากแหล่งผลิตต่าง ๆ ในจังหวัดสกลนคร พบว่า แบคทีเรียแลคติกได้ 200 ไอโซเลท ที่คัดแยกได้มีความสามารถในการสร้างสารต้านจุลินทรีย์ในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในทางเดินอาหารที่แตกต่างกัน โดย แบคที่เรียแลคติกที่คัดเลือกได้จำนวน 8 ไอโซเลท มีความสามารถในการยับยั้งแบคที่เรียอินดิเคเตอร์ได้ดีที่สุด ได้แก่ ไอโซเลท ST5-1, ST5-4, ST5-19, ST6-23, ST6-30, ST6-39 และ ST6-40 แต่อย่างไรก็ตาม มีเพียง 3 ไอโซเลท ที่สามารถสร้างสารยับยั้งจุลินทรีย์จาก cell-free supernatant ได้แก่ ไอโซเลท ST5-1, ST5-4 และ 6-30 และจากการทดสอบความปลอดภัยของแบคทีเรียแลคติกที่คัดเลือกได้ พบว่า แบคทีเรียแลคติกทั้ง 8 ไอโซเลท ไม่มี ความสามารถในการย่อยสลายเม็ดเลือดแดง มีความไวต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้ทดสอบ ได้แก่ Chloramphenicol, Tetracycine และ Ampicilin และในการทดสอบสมบัติโพรไบโอติกของแบคทีเรียแลคติกที่คัดเลือกได้ในการเหลือ รอดในสภาวะทางเดินอาหารจำลอง พบว่า มี 3 ไอโซเลท ได้แก่ ST5-1, ST6-23 และ ST6-30 ที่มีอัตราการเหลือ รอดในลโซไซม์ที่ 120 นาที มากกว่า 80% และในสภาวะน้ำย่อยจำลองที่พี่เอซเท่ากับ 2 พบว่า ไอโซเลท ST6-34 มี อัตราการเหลือรอดที่ 73% รวมถึงมีอัตราการเหลือรอดที่ความเข้มข้นของเกลือน้ำดีที่ 0.50% ที่ 88% และจากการ จำแนกสายพันธุ์แบคที่เรียแบคติกที่คัดเลือกได้โดยวิธีวิเคราะห์ลำดับเบส DNA พบว่า ไอโซเลท ST5-4 และ ST6-34 มีความเหมือนกับสายพันธุ์ Enterococcus durans ที่ 99.72% และ Ent. faecium ที่ 99.51% ตามลำดับ ซึ่ง งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า แบคที่เรียแลคติกสายพันธุ์ Ent. durans ST5-4 และ Ent. faecium ST6-34 มีสมบัติเป็นโพรไบโอติกที่สามารถนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์เนื้อหมักได้

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ชีววิทยา
-
-
โพรไบโอติก, แบคที่เรียแลคติก, ระบบทางเดินอาหารจำลอง, ส้มเท้าวัว

เจ้าของผลงาน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แก้วกัลยา โสตถิสวัสดิ
สุเมธ เพียยุระ

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.แก้วกัลยา โสตถิสวัสดิ เเละ สุเมธ เพียยุระ . (2566). การคัดเลือกและการประเมินคุณสมบัติการเป็นโพรไบโอติกของแบคทีเรียแลคติกที่คัดแยกได้จากผลิตภัณฑ์ส้มเท้าวัว. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.