การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยการสอนเป็นทีม รายวิชาสังคมไทยกับโลกาภิวัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยการสอนเป็นทีม รายวิชาสังคมไทยกับ โลกาภิวัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการ เรียนการสอน 2)เพื่อออกแบบและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยการสอนเป็นทีม และ 3)เพื่อ ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยการสอนเป็นทีม กลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คืออาจารย์ผู้สอน และนักศึกษาที่ลงเรียนรายวิชา สังคมไทยกับโลกาภิวัตน์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จํานวน 259 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสําหรับผู้สอน และผู้เรียน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สภาพการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา อาจารย์ผู้สอนแต่ละคนจะได้รับมอบหมายให้จัดการ เรียนการสอน 1 คนต่อ 1 ห้องเรียน ผู้สอนแต่ละคนจะดําเนินการสอนตามหัวข้อที่กําหนดไว้ใน โครงการสอน (Course syllabus) ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ รายวิชาสังคมไทยกับโลกาภิวัตน์มีลักษณะเป็น วิชาสหวิทยาการ (Interdisciplinary) จึงมีเนื้อหามาก และประกอบไปด้วยหลากหลายศาสตร์ แต่ อาจารย์ที่สอนส่วนใหญ่มาจากสายสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อีกทั้งผู้สอนแต่ละคนยังต้องสอนใน หัวข้อที่ตนไม่ถนัด ทําให้ผู้เรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ การให้ อิสระกับผู้สอนในการจัดการเรียนการสอน ทําให้ผู้สอนแต่ละคนมีวิธีการออกแบบการเรียนการสอน แตกต่างกัน ส่งผลให้ผู้เรียนในแต่ละห้องได้รับความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการประเมินผลที่แตกต่าง กัน ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของรายวิชา จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยได้พัฒนารูปแบบการสอนขึ้น โดยแบบจําลอง ADDIE เป็นกรอบใน การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการสอนเป็นทีม (Team-Teaching Approach) ประยุกต์เข้ากับกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และ การออกแบบดับเบิ้ล ไดมอนด์(Double Diamond Design) พัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบที่เรียกว่า Collaborative Team Teaching Approach (CTTA) แล้วจึงนําไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย หลังจากการจัดการเรียนการสอนผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนด้วยการ สอนเป็นทีมอยู่ในระดับ มาก (x=4. ̅ 20) โดยในด้านผู้สอนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ในประเด็นทีมผู้สอนมีความเป็นกันเอง รับฟัง และให้โอกาสผู้เรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x=4.3 ̅ 0)