ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเนื้อไก่พื้นเมืองและเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมืองของผู้บริโภคในจังหวัดสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเนื้อไก่พื้นเมืองและลูกผสม พื้นเมืองของผู้บริโภคในจังหวัดสกลนคร และศึกษาปัญหาการซื้อและการบริโภคเนื้อไก่พื้นเมืองและลูกผสม พื้นเมืองของผู้บริโภคในจังหวัดสกลนคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือ ผู้บริโภคที่เคยซื้อเนื้อไก่ พื้นเมืองและเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมืองในจังหวัดสกลนคร จำนวน 400 ตัวอย่าง รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยใช้ แบบสอบถาม เลือกวิธีการสุ่มแบบเจาะจง สถิติใช้ในการวิจัยที่ใช้ Chi-Square และ Logistic Regression Analysis แบบ Binary Logistic Regression Analysis ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลปัจจัยบุคคล กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 39.64 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส นับถือศาสนาพุทธ ส่วนใหญ่จบชั้นมัธยมศึกษา/ปวช. ปริญญาตรี และ ประถมศึกษา ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร รองลงมาคือ พนักงานบริษัทเอกชน พ่อค้า/แม่ค้า และข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามลำดับ ส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท รองลงมา คือ 10,001 – 20,000 บาท และ 20,001 – 30,000 บาท มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนส่วนใหญ่อยูที่ 3-4 คน รองลงมาคือ 5-6 คน และ 1-2 คน ตามลำดับ ด้านปัจจัยจิตวิทยา พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้คะแนนปัจจัยจิตวิทยา ในภาพรวมระดับมาก มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 3.86 (0.822) เมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยแต่ละด้านพบว่า ด้านความ เชื่อ และทัศนคติมีคะแนนมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการรับรู้ด้านแรงจูงใจ และด้านการเรียนรู้ตามลำดับ ด้าน ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดพบว่า ผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านราคามากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านการจำหน่าย ส่วนด้านการส่งเสริมการขายผู้บริโภคให้ความสำคัญระดับปานกลาง เมื่อนำปัจจัยทั้ง 3 ด้านไปหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเนื้อไก่พื้นเมืองและเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมืองของผู้บริโภคในจังหวัด สกลนคร โดยใช้แบบจำลอง Binary Logistic Regression Analysis พบว่า ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดด้าน ผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเนื้อไก่พื้นเมืองและเนื้อไก่ลูกผสมพื้นเมืองของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.01