พระธาตุเชิงชุม: พิธีกรรม ตํานาน วิถีชีวิตของชาวสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ ประการแรกเพื่อศึกษา ภาษา ดนตรี ศิลปะ วาทกรรม อัตลักษณ์ เรื่องเล่าพิธีกรรม ในพิธีบูชาบูชาพระธาตุ เชิงชุม ประการที่สองเพื่อวิเคราะห์บทบาทของพระธาตุเชิงชุมที่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร คณะผู้วิจัยเลือกเก็บข้อมูลจากเรื่องเล่า และตํานาน พร้อมกับร่วมสังเกตขบวนแห่ปราสาทผึ้ง ในงานวันออกพรรษา และงานประเพณีนมัสการองค์พระธาตุเชิงชุมประจําปี เพื่อศึกษาภาษา ดนตรีศิลปะ จากนั้นนําข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบแนวคิดทางด้านคติชนวิทยา วัฒนธรรม และกรอบแนวคิดทางด้านภาษาศาสตร์เชิงสังคม ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบดนตรีในพิธีบวงสรวงพระธาตุ ประกอบด้วย เสียง จังหวะ ทํานอง สีสันของเสียงพื้นผิวของเสียง และคีตลักษณ์ เครื่องดนตรีที่ใช้แคน พิณ โปงลาง และโหวดเป็นหลัก ตํานานและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์พระธาตุเชิงชุมแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ประการแรกคือพระธาตุเชิงชุมในการรับรู้ในมิติของเรื่องเล่า ประการที่สอง พระธาตุเชิงชุมในมิติทางประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในส่วนของเรื่องเล่าและตํานานนั้นพบว่ามีนิทานอุรังคธาตุ ตํานานเมืองสกลนคร ตํานานนาค ตํานานเมืองล่ม ตํานานแม่กาเผือก และตํานานข้าว ส่วนการรับรู้เรื่องราวของพระธาตุเชิงชุมในมิติทางประวัติศาสตร์นั้น แบ่งออกได้เป็นการรับรู้ในยุคก่อน ยุครัตนโกสินทร์ตอน ช่วงที่สองเป็นการรับรู้ในช่วงรัตนโกสินทร์ และการรับรู้ในยุคปัจจุบัน วัดพระธาตุเชิงชุมยังเป็นพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้แสดงออกในกิจกรรมของกลุ่มซึ่งมีนัยยะในการต่อรองเชิงอํานาจกับรัฐ และการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ที่พวกเขาล้วนแต่เป็นเครือญาติเดียวกัน จิตรกรรมร่วมสมัย เป็นสื่อกลางในการสะท้อนความงดงามผ่านภาพวาด ที่เต็มไปด้วยสีสัน ลายเส้น และการแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวทางศาสนา นิทานพื้นบ้าน ผสมผสานเข้ากับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 18 อําเภอของจังหวัดจังหวัดสกลนครพบว่ามีทั้งสิ้น 8 กลุ่ม ได้แก่ ไทลาว ภูไท ญ้อ โย้ย กะเลิง โส้โซ่ ทะวืงและบรู แบ่งออกได้เป็น 2 ตระกูลภาษา ได้แก่ ตระกูลขร้า-ไท หรือไท-กะไดและออสโตรเอเชียติก ซึ่งกระจายกันอยู่ 15511 หมู่บ้าน เมื่อนําข้อมูลภาษาดังกล่าวมาทําแผนที่ภาษาด้วยโปรแกรม ArcMap แสดงชุมชนภาษาได้ 19 แผ่น นอกจากนี้ยังพบว่าอัตลักษณ์ด้านภาษานั้นมีลักษณะเฉพาะของระบบภาษา และยังพบว่ามีการยืมคําศัพท์ และกลายเป็นสังคมพหุภาษา