การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดสมองเป็นฐานสำหรับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ และความต้องการในการพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรมฐานสมรรถนะวิชาชีพครู 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาผู้เรียนตาม แนวคิดสมองเป็นฐาน ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญในการพิจารณาประเมินความเหมาะของหลักสูตรและให้ข้อเสนอแนะ จำนวน 13 ท่าน 3) พัฒนาความรู้ ความสามารถที่นำไปสู่การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะของครูผู้สอนตาม สมรรถนะหลักของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้หลักสูตรฝึกอบรมฐาน สมรรถนะวิชาชีพครู สำหรับครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสกลนคร ผลการวิจัย ระยะที่ 1 ผลการศึกษาสภาพและความต้องการในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐาน สมรรถนะวิชาชีพครูกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน ผู้บริหาร ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสกลนคร จำนวน 150 คน ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของระดับการปฏิบัติตามสมรรถนะหลัก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.42 อยู่ในระดับมาก ภาพรวมของระดับการปฏิบัติตามสมรรถนะประจำสายงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 อยู่ในระดับมากที่สุด ภาพรวมของระดับความต้องการตามสมรรถนะหลัก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 อยู่ในระดับมาก ภาพรวมของระดับความต้องการตามสมรรถนะประจำสายงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 อยู่ในระดับมากที่สุด และ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสกลนคร จำนวน 440 คน ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของระดับการปฏิบัติตามสมรรถนะที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด มี ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 อยู่ในระดับมาก ภาพรวมของระดับความต้องการตามสมรรถนะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 อยู่ ในระดับมากที่สุด ผลการวิจัย ระยะที่ 2 ศึกษาการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมฐานสมรรถนะวิชาชีพครู เพื่อพัฒนา ผู้เรียนตามแนวคิดสมองเป็นฐาน โดยมีองค์ประกอบของหลักสูตร ดังนี้ 1) ความเป็นมาของหลักสูตร 2) หลักการ ของหลักสูตร 3) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 4) ผลที่คาดว่าจะได้รับ 5) โครงสร้างหลักสูตร 6) เนื้อหาสาระของ หลักสูตร 7) ระยะเวลาที่ใช้ในการอบรม 8) วิธีการดำเนินการ 9) สื่อ/นวัตกรรมการเรียนรู้ 10) สถานที่ฝึกอบรม 11) การวัดและการประเมินผล 12) ตารางการฝึกอบรม และ 13) ภาคผนวก ผลการศึกษาพบว่าหลักสูตรมี คุณภาพและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̅ = 4.58, S.D. = 0.62) ผลการวิจัย ระยะที่ 3 ศึกษาการพัฒนาความรู้ความสามารถที่นำไปสู่การจัดการเรียนรู้ฐาน สมรรถนะของครูผู้สอนในแต่ละระดับ กลุ่มเป้าหมายเข้าอบรมในหลักสูตร จำนวน 120 คน ได้แก่ ครูผู้สอนใน ระดับปฐมวัย จำนวน 40 คน ระดับประถมศึกษา จำนวน 40 คน และ ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 40 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) ครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่มีสมรรถนะในระดับพัฒนาการสูงมาก มีจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อย ละ 82.50 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.56, S.D. = 0.50) 2) ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาที่มี สมรรถนะในระดับพัฒนาการสูงมากมีจำนวน 28 คน คิดเป็น ร้อยละ 70.00 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ที่สุด (x̅ = 4.53, S.D. = 0.54) และ 3) ครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาที่มีสมรรถนะในระดับพัฒนาการสูงมาก มีจำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 82.50 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̅ = 4.51, S.D. = 0.49)