งานวิจัย รูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมระหว่างคนสามวัยโดยใช้ครอบครัวเป็นฐานในจังหวัดสกลนคร


รูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมระหว่างคนสามวัยโดยใช้ครอบครัวเป็นฐานในจังหวัดสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยในจังหวัดสกลนครโดย การละเล่นของเล่นพื้นบ้านอีสาน 2) เพื่อศึกษาสัมพันธภาพเชิงบวกระหว่างผู้สูงอายุกับบุคคลต่างวัยในครอบครัว ในจังหวัดสกลนคร และ 3) เพื่อหาแนวทางในการประกอบสัมมาชีพเพื่อเพิ่มรายได้แก่ผู้สูงอายุที่มีลูกหลานไป ทำงานต่างถิ่นในจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 90 คน จากจำนวน 30 ครัวเรือน เป็นครัวเรือนที่มีคน 3 วัย ประกอบไปด้วย วัยเด็กและเยาวชน อายุตั้งแต่ 3 – 18 ปี จำนวน 1 คน วัยผู้ใหญ่ อายุ ตั้งแต่ 19 – 59 ปี จำนวน 1 คน และวัยผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุด จัดกิจกรรมการละเล่นของเล่นพื้นบ้านอีสาน แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมสำหรับเด็กปฐมวัย แบบสอบถาม สัมพันธภาพเชิงบวกระหว่างผู้สูงอายุกับบุคคลต่างวัยในครอบครัวเดียวกัน แบบสอบถามการประกอบสัมมาชีพ ของผู้สูงอายุที่มีลูกหลานไปทำงานต่างถิ่น และแบบสัมภาษณ์แนวทางการส่งเสริมสัมมาชีพเพื่อเพิ่มรายได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีลูกหลานไปทำงานต่างถิ่น สถิติที่ใช้ในงานวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และใช้เทคนิค Modified priority needs index (PNImodified) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. เด็กปฐมวัยในเทศบาลตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร ที่ได้รับการจัดกิจกรรม การละเล่นของเล่นพื้นบ้านอีสาน มีทักษะทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ครัวเรือนในเทศบาลตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร มีสัมพันธภาพเชิงบวก ระหว่างผู้สูงอายุกับบุคคลต่างวัยในครอบครัวเดียวกันมีการปฏิบัติอยู่ระดับมากทุกด้าน 3. ผู้สูงอายุมีความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสัมมาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ มีค่า PNImodified = 0.42 4. ผู้สูงอายุมีความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมสัมมาชีพเพื่อเพิ่มรายได้มากที่สุด คือ ด้านรายได้จากการ ประกอบอาชีพ (PNImodified = 0.49) รองลงมา คือ ด้านการประกอบอาชีพ (PNImodified = 0.47) และด้านการใช้ ชีวิตประจำวัน (PNImodified = 0.31) 5. แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาผู้สูงอายุในการประกอบสัมมาชีพเพื่อเพิ่มรายได้สามรถแบ่ง ออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้ 1) ด้านการประกอบอาชีพ 2) ด้านรายได้จากการประกอบอาชีพ และ 3) ด้านการใช้ ชีวิตประจำวัน นอกจากศักยภาพของผู้สูงอายุในการพัฒนาตนเองแล้ว ผู้สูงอายุยังต้องการความช่วยเหลือจากผู้ที่ มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ครอบครัว ชุมชน และองค์ภาครัฐ

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
ครุศาสตร์
การศึกษาปฐมวัย
-
-
รูปแบบ, ภูมิคุ้มกันทางสังคม, คนสามวัย, ครอบครัวเป็นฐาน

เจ้าของผลงาน
อาจารย์ชุลีวัลย์ รักษาภักดี
อาจารย์อิชยา จีนะกาญจน์, นางสาววิภาวรรณ ใหญ่สมบูรณ์

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์ชุลีวัลย์ รักษาภักดี ,อาจารย์อิชยา จีนะกาญจน์ เเละ นางสาววิภาวรรณ ใหญ่สมบูรณ์ . (2566). รูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมระหว่างคนสามวัยโดยใช้ครอบครัวเป็นฐานในจังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.