งานวิจัย การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันสําหรับวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการข้าวฮางเชิงพาณิชย์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ในจังหวัดสกลนคร


การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันสําหรับวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการข้าวฮางเชิงพาณิชย์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ในจังหวัดสกลนคร

บทความนี้นำเสนอการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกร่วมกับ อากาศร้อนเหลือทิ้งจากไอเสียเตานึ่งข้าวฮางประหยัดพลังงานสำหรับอบแห้งข้าวฮางโดยใช้ระบบ ( IoT) แทน กระบวนการผลิตแบบดั้งเดิมที่ใช้การตากแดดตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยลดปัญหา ความเสียหายของผลิตภัณฑ์จาก สภาพอากาศ ฝนตก ไม่มีแสงแดด และลดความสกปรก จากฝุ่นละออง สำหรับโรงอบแห้งนี้ประกอบด้วย โรง อบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ตัวห้องเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมส่วนหลังคาเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม ซึ่งมีความกว้าง 4.0 เมตร ยาว 10.0 เมตร และสูง 2.50 เมตร โดยติดตั้งพัดลมขนาด 30 วัตต์ จำนวน 2 ตัว สำหรับใช้ระบายอากาศ พร้อมทั้งได้พัฒนาระบบควบคุมด้วย IoT ผลการทดสอบและการเปรียบเทียบระยะเวลา การใช้พลังงานเทียบกับระบบดั้งเดิม พบว่า สามารถลด ระยะเวลาและ ค่าใช้ด้านพลังงานได้ เมื่อเทียบกับการอบแห้งโดยการตากแดดตามธรรมชาติซึ่งใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ส่วนการอบแห้งด้วยโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจกร่วมกับอากาศร้อนเหลือทิ้งจากไอเสีย เตานึ่งข้าวฮางประหยัดพลังงานสำหรับอบแห้งข้าวฮางโดยใช้ระบบ (IoT) ใช้ระยะเวลา 8 ชั่วโมง โดยมีความชื้น เริ่มต้นของข้าวฮาง 63 เปอร์เซ็นต์มาตรฐานแห้ง และความชื้นสุดท้าย 14% เปอร์เซ็นต์มาตรฐานแห้ง ซึ่งข้าวฮาง ที่อบแห้งในโรงอบที่ได้มีคุณภาพดีตามมาตรฐาน

ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund)
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม(แขนงวิชาเทคโนโลยีเครื่องกล)
-
-
การอบแห้งข้าวฮาง, โรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก, เตานึ่งข้าวฮางประหยัดพลังงาน, ระบบ IoT

เจ้าของผลงาน
ดร.สาคร อินทะชัย
ผศ.ปรีชาศาสตร์ มีเกาะ, ผศ.ธฏษธรรมช์ ลาโสภา

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ดร.สาคร อินทะชัย ,ผศ.ปรีชาศาสตร์ มีเกาะ เเละ ผศ.ธฏษธรรมช์ ลาโสภา . (2566). การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันสําหรับวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการข้าวฮางเชิงพาณิชย์ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ในจังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.