งานวิจัย การพัฒนาศักยภาพการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรไทหนองบัวเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่การเป็น “มหานครแห่งพฤกษเวช”


การพัฒนาศักยภาพการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรไทหนองบัวเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่การเป็น “มหานครแห่งพฤกษเวช”

โครงการวิจัยการพัฒนาศักยภาพการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรไทหนองบัวเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่การเป็นมหานครแห่งพฤกษเวช มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการแปลงปลูกสมุนไพรเข้าสู่การรับรองมาตรฐานแบบ SDGsPGS และเพิ่มการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสมุนไพรและมูลค่าของสมุนไพรด้วยกระบวนการกลั่นอย่างง่าย โดยใช้ปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) กลุ่มเป้าหมายคัดเลือกแบบเจาะจง คือ กลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรไทหนองบัว และเครือข่ายผู้ปลูกสมุนไพรตำบลบึงทวาย กลุ่มประชาชนที่เกณฑ์รายได้ของคน 40% ที่จนที่สุด จำนวน 40 คน โดยใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จัดเสวนากลุ่ม และปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบบริหารจัดการแปลงปลูกสมุนไพรเข้าสู่การรับรองมาตรฐานแบบ SDGsPGS สู่การยกระดับเศรษฐกิจชุมชนของเมืองสมุนไพร มี 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ (1) สร้างความแม่นยำในการดำเนินงานของเกษตรด้านสมุนไพร ด้วยการผสานองค์ความรู้เดิมและเติมองค์ความรู้ใหม่ เช่น การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษาหลังการปลูก วิธีการเก็บเกี่ยวและรักษาให้คงสารออกฤทธิ์สูง (2) มีระบบการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่เข้มแข็งบนฐานผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนาขึ้น คือ น้ำมันนวดสมุนไพร ถ่านหอมสมุนไพร น้ำมันหอมระเหยสมุนไพร สะเปรย์ไล่ยุง และ (3) มีระบบบริการจัดการแปลงสมุนไพรที่มีมาตรฐานอย่างมีส่วนร่วม จำนวน 6 แปลง เพื่อเป็นโอกาสของการสร้างรายได้ สร้างอาชีพทางเลือก และสร้างสมดุลสุขภาวะของชุมชนพื้นที่ต่อไป 2) การเพิ่มการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสมุนไพรและมูลค่าของสมุนไพรด้วยกระบวนการกลั่นอย่างง่ายเพื่อการลดการพึ่งพาทรัพยากรในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนจากภายนอก มี 4 องค์ประกอบที่สำคัญคือ (1) การเพิ่มปริมาณการเพาะปลูก 7,660 ต้น คิดเป็น 4 เท่า ของการใช้ประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น (2) การเพิ่มพื้นที่การเพาะปลูกพืชสมุนไพร โดยกลุ่มที่ 1 มีปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น 7.46 เท่า กลุ่มที่ 2 มีปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้น 3.76 เท่า (3) คู่มือความรู้ E – Book ที่สามารถกระตุ้นการเรียนรู้ในการใช้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพ และสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และ (4) การเพิ่มมูลค่าผลผลิตและผลิตภัณฑ์ ด้วยนวัตกรรม (เครื่องกลั่นน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพร) สู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร เพื่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรสมุนไพรท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนทุกช่วงวัย ทั้งนี้ข้อเสนอเพื่อการพัฒนา คือ การพัฒนาการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ที่สร้างรายได้และการพัฒนาเชื่อมโนงการตลาดสู่คู่ค้าทางธุรกิจ เพื่อให้มีรายได้อย่างต่อเนื่อง มั่นคง และยั่งยืน สู่การเป็นมหานครแห่งพฤกษเวช

ทุนวิจัยเพื่อท้องถิ่น
สถาบันวิจัยและพัฒนา
-
-
-
เศรษฐกิจชุมชน, มาตรฐาน SDGsPGS, กลั่นสมุนไพร, เมืองสมุนไพร

เจ้าของผลงาน
อัสฉรา นามไธสง
ศักดิ์ดา แสนสุพรรณ, ญาณวิจา คำพรมมา, วุฒิชัย รสชาติ, สันติ ผิวผ่อง, เทพกร ลีลาแต้ม

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อัสฉรา นามไธสง ,ศักดิ์ดา แสนสุพรรณ, ญาณวิจา คำพรมมา, วุฒิชัย รสชาติ, สันติ ผิวผ่อง เเละ เทพกร ลีลาแต้ม . (2565). การพัฒนาศักยภาพการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรกลุ่มวิสาหกิจสมุนไพรไทหนองบัวเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนสู่การเป็น “มหานครแห่งพฤกษเวช”. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.