งานวิจัย การเพิ่มศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลูกประคบสมุนไพรในจังหวัดสกลนคร ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์


การเพิ่มศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลูกประคบสมุนไพรในจังหวัดสกลนคร ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์

โครงการวิจัยนี้นำเสนอ “การเพิ่มศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลูกประคบสมุนไพรในจังหวัดสกลนคร ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์” มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนากระบวนการผลิตลูกประคบสมุนไพรด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมสำหรับการผลิตลูกประคบสมุนไพรในเชิงพาณิชย์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมการผลิตลูกประคบสมุนไพร ให้กับนักเรียน นักศึกษาในชุมชน จนเกิดการสืบทอดองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อส่งเสริมและหาช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาบริบทของชุมชนในการพัฒนาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมรวมถึงการศึกษาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และการดำเนินงานที่มีอยู่ในชุมชนตลอดจนการระบุปัญหาและอุปสรรค นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เช่น พื้นที่ รายได้ เพศ อายุ ได้ออกแบบเทคโนโลยีการผลิตลูกประคบสมุนไพรเชิงพาณิชย์และสร้างสอบถามชุมชน ได้พัฒนาศักยภาพระบบและกลไก การถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วม และการติดตามผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสมุนไพรลูกประคบสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์ ผลการศึกษา พบว่า 1) เกิดนักวิจัยชุมชนจากการวางระบบการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จำนวน 35 คน ซึ่งประกอบด้วย วิสาหกิจชุมชน ชาวบ้าน และเครือข่าย ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ที่ผ่านการอบรม โครงการเพิ่มศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลูกประคบสมุนไพรในจังหวัดสกลนคร ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์ 2) เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมกับชาวบ้าน ที่สามารถตอบโจทย์ชุมชนท้องถิ่นของตำบลตาลเนิ้ง อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร 3) เกิดองค์ความรู้ ทักษะ ด้านการใช้เทคโนโลยี สำหรับนำไปใช้ในทางปฏิบัติเพื่อยกระดับความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน โดยผู้สูงอายุส่วนใหญ่ในวิสาหกิจชุมชนได้เปลี่ยนกระบวนการผลิตลูกประคบสมุนไพรจากการใช้แรงงานคนทุกขั้นตอนมาใช้เทคโนโลยีที่ใช้แรงอัด 4) เกิดช่องทางการตลาดใหม่จากการส่งเสริมการขาย พบว่า สมาชิกวิสาหกิจชุมชุนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ย ร้อยละ 5 แต่ไม่สามารถข้ามเส้นรายได้ตามเกณฑ์รายได้ของประชากร ตามเกณฑ์รายได้ 40% ได้ และกลุ่มมียอดการสั่งซื้อสินค้าและเครือข่ายการขายสินค้าเพิ่มขึ้นหลังการจัดกิจกรรมอบรม จำนวน 4 ร้านค้า จากการใช้ช่องทางติดต่อใน Facebook และ Line จากผลการดำเนินงานขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจะสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาขยายผลการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อยกระดับเศรษฐกิจของชุมชนอื่นๆ ในอนาคต

ทุนวิจัยเพื่อท้องถิ่น
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
วิชาชีพครู
-
-
สมุนไพร, ลูกประคบ, นวัตกรรม, การวิจัยเพื่อท้องถิ่น

เจ้าของผลงาน
กฤษฎา พรหมพินิจ
จุลศักดิ์ โยลัย, วาสนา เกษมสินธ์, กิตติวัฒน์ จีบแก้ว, สุวิพงษ์ เหมะธุลิน, ดร.สุวิทย์ ทิพอุเทน, ดร.นำพร อินสิน, ชฎาพร แนบชิด, ทวินันท์ สีเนหะ

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
กฤษฎา พรหมพินิจ ,จุลศักดิ์ โยลัย, วาสนา เกษมสินธ์, กิตติวัฒน์ จีบแก้ว, สุวิพงษ์ เหมะธุลิน, ดร.สุวิทย์ ทิพอุเทน, ดร.นำพร อินสิน, ชฎาพร แนบชิด เเละ ทวินันท์ สีเนหะ . (2565). การเพิ่มศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลูกประคบสมุนไพรในจังหวัดสกลนคร ด้วยการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมสำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.