งานวิจัย รูปแบบบริหารจัดการน้ำบนภูมินิเวศ โคก ราบ ลุ่ม สำหรับกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม


รูปแบบบริหารจัดการน้ำบนภูมินิเวศ โคก ราบ ลุ่ม สำหรับกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ข้าวอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรกรบ้านนางัว ตำบลนาหว้า จังหวัดนครพนมต้องอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเป็นหลักอีกทั้งแต่ละแปลงอยู่บนพื้นที่ที่แตกต่างกันส่งผลให้มีการบริหารจัดการน้ำในหลายรูปแบบ งานวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทชุมชนกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์บ้านนางัว ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการจัดการน้ำสำหรับปลูกข้าวอินทรีย์บนพื้นที่ โคก ราบ ลุ่ม และเพื่อศึกษาความต้องการใช้น้ำกลุ่มผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ที่มีภูมินิเวศแตกกัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการลงพื้นที่ เก็บข้อมูลภาคสนาม ผลวิจัยพบว่า พื้นที่แปลงข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรอยู่แบบกระจาย ระยะห่างระหว่างแปลงไกลสุด 11 กิโลเมตร ระดับความสูงของแปลงนาข้าวเมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเลสูงสุดที่ 175.31 เมตร ต่ำสุดที่ 149.30 เมตร พื้นที่ ลุ่ม เป็นพื้นที่ต่ำอยู่ระดับเดียวกับน้ำส่งผลให้มีน้ำที่เพียงพอต่อการผลิตในแต่ละรอบการผลิต ในบางปีที่ฝนตกชุกจะเกิดปัญหาน้ำท่วมขังนานต้องหาวิธีการระบายน้ำเพื่อรักษาผลผลิตให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด มีการบริหารจัดการพื้นที่แปลงข้าวบางส่วนมาทำบ่อเพื่อกักน้ำและบางรายทำการขุดเจาะบ่อบาดาลกระจายตามพื้นที่เพื่อนำน้ำมาใช้ตอนฝนทิ้งช่วงและข้าวตั้งท้อง ซึ่งเกษตรกรกลุ่มข้าวอินทรีย์บ้านนางัวมี 3 ราย พื้นที่ ราบ เป็นพื้นที่ที่อยู่เหนือระดับน้ำชุมชน 3-5 เมตร มีจำนวนเกษตรกร 6 ราย การรักษาระดับน้ำในแปลงข้าวบางรายใช้ท่อพีวีซีในการส่งน้ำ บางรายใช้การขุดร่องตามคันนาให้น้ำไหลผ่าน การกักเก็บน้ำทำการขุดบ่อดินเพื่อรองรับน้ำ บางรายเจาะน้ำบาดาลแต่ยังไม่กระจายทั่วทั้งแปลง พื้นที่ โคก เป็นพื้นที่ที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำชุมชนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่ลุ่ม มีจำนวนเกษตรกร 15 รายที่อยู่ในพื้นที่โคก พื้นที่บางรายเป็นการปรับพื้นที่ป่ามาทำเป็นแปลงข้าวพื้นดินเป็นดินทรายไม่อุ้มน้ำ ฝนตกเกิดการไหลของน้ำที่เร็วมาก มีการจัดการแปลงโดยแบ่งพื้นที่มาทำเป็นบ่อกักน้ำบางรายเท่านั้น พื้นที่โคก มีจำนวนเกษตร 15 ครอบครัวพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 133.20 ไร่ปริมาณน้ำที่มีความเหมาะสมต่อการผลิตใน 1 รอบการผลิตอยู่ที่ 199,800 ลูกบาศก์เมตร พื้นที่ราบมีจำนวนเกษตรกร 6 ครอบครัวพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 59.30 ไร่ ปริมาณน้ำที่มีความเหมาะสมต่อการผลิตใน 1 รอบการผลิตอยู่ที่ 88,950 ลูกบาศก์เมตร และพื้นที่ลุ่ม จำนวน 3 ครอบครัว มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปี 33.22 ไร่ ปริมาณน้ำที่มีความเหมาะสมต่อการผลิตใน 1 รอบการผลิตอยู่ที่ 49,830 ลูกบาศก์เมตร จากข้อมูลเกษตรกรกลุ่มข้าวอินทรีย์บ้านนางัวต้องการปริมาณน้ำทั้งสิน 338,580 ลูกบาศก์เมตร เกษตรกรกลุ่มข้าวอินทรีย์ปรับวิธีการทำนาโดยการนำเทคโนโลยีพลังงานทดแทนมาช่วยในการบริหารจัดการน้ำในแปลงทำให้เกิดองค์ความรู้ด้านการใช้พลังงานเซลล์แสงอาทิตย์ในการสูบน้ำหน้าดินและใต้ดินเพื่อรองรับการออกแบบแหล่งน้ำที่แตกต่างกันในแต่ละแปลงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและช่วยลดต้นทุนในการผลิตในแต่ละรอบการผลิตเฉลี่ยไร่ละ 100 บาทต่อฤดูการผลิต

ทุนวิจัยเพื่อท้องถิ่น
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์(แขนงวิชาอิเล็กทรอนิกส์)
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
-
กษตรอินทรีย์, ภูมินิเวศ, เซลล์แสงอาทิตย์, เครื่องสูบน้ำ

เจ้าของผลงาน
ผศ.ก้องภพ ชาอามาตย์
ดร.ครรชิต สิงห์สุข, อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี อาจศึก มามีกุล, ช่วยศาสตราจารย์ กิตติวัฒน์ จีบแก้ว, นายศักดิ์ดา แสนสุพรรณ

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ก้องภพ ชาอามาตย์ ,ดร.ครรชิต สิงห์สุข, อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรี อาจศึก มามีกุล, ช่วยศาสตราจารย์ กิตติวัฒน์ จีบแก้ว เเละ นายศักดิ์ดา แสนสุพรรณ . (2564). รูปแบบบริหารจัดการน้ำบนภูมินิเวศ โคก ราบ ลุ่ม สำหรับกลุ่มปลูกข้าวอินทรีย์ ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. นครพนม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.