การวิิเคราะห์ตัวบ่งชี้งานประกันคุณภาพ ประจำปีการศึกษา 2562 ของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
รายงานการพัฒนางานประจําสู่งานวิจัย (Routine to Research) เรื่อง การ วิเคราะห์ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายในที่แสดงอัตลักษณ์ สําหรับประจําปีการศึกษา 2562 ของ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ ตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพภายในที่แสดงอัตลักษณ์สําหรับประจําปีการศึกษา 2562 ของสถาบัน ภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และเพื่อหาแนวทางการดําเนินงานการ ประกันคุณภาพภายในสําหรับตัวบ่งชี้ใหม่ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กําหนด ประชากรและกลุ่ม ตัวอย่าง เป็นคณะกรรมการผู้กํากับดูแลตัวบ่งชี้ และผู้จัดเก็บข้อมูล ประจําปีการศึกษา 2562 ของ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้คือแบบ บันทึกภาคสนาม ประจําปีการศึกษา 2562 การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง และประชุมคณะกรรมการผู้กํากับดูแลตัวบ่งชี้เพื่อพิจารณาคําอธิบายตัวบ่งชี้ เกณฑ์ตัวบ่งชี้ และร่วมกําหนดแนวทางการดําเนินงานที่มีคุณภาพของหน่วยงาน แนวปฏิบัติที่ดีในการรวบรวม ข้อมูล/หลักฐาน และการรายงานผลการดําเนินงานสําหรับรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ของตัวบ่งชี้การประกันคุณภาพใหม่ที่สร้างขึ้น จํานวน 2 ตัวบ่งชี้ ผลการวิเคราะห์ ตัวบ่งชี้ที่ 2.5 ระบบและกลไกการพัฒนางานศึกษา ฝึกอบรมทางภาษา และวิเทศสัมพันธ์ จากคําอธิบายตัวบ่งชี้ ได้สรุปว่างานศึกษา ฝึกอบรมทางภาษาและวิเทศสัมพันธ์ ได้ดําเนินการตามนโยบาย แผนงานโครงการตามประเด็นยุทธศาสตร์ สถาบันภาษา ศิลปะและ วัฒนธรรมด้านพัฒนานักศึกษาและบุคลากรด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมสู่ระดับสากล โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการเสริมสร้างสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษให้นักศึกษา บุคลากร และบุคคลทั่วไป สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและใช้ในการแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเมื่อ พิจารณาเกณฑ์การดําเนินงานแต่ละข้อ ได้ข้อสรุปในการเขียนผลการดําเนินงานและเอกสาร/ หลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน และตัวบ่งชี้ที่ 2.6 ระบบและกลไกการพัฒนางานวิชาการด้านศิลปวัฒนธรรม จากคําอธิบายตัวบ่งชี้ ได้สรุปว่างานวิชาการและวิจัย มีโครงสร้างการบริหารสถาบันภาษาศิลปะและ วัฒนธรรม โครงสร้างการปฏิบัติงานวิชาการและวิจัย มีแผนงานโครงการ ตามประเด็นยุทธศาสตร์ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ด้านศึกษา ค้นคว้า รวบรวมเอกสาร ตํารา วารสาร บทความ งานวิจัยทางด้านภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยด้านทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นมีการบูรณาการร่วมกับวิถีชีวิต ประชาคม ตลอดจนการสร้างสรรค์ผลงานด้านวิชาการ การวิจัยทางศิลปวัฒนธรรม การอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่น อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเมื่อพิจารณา เกณฑ์การดําเนินงานแต่ละข้อ ได้ข้อสรุปในการเขียนผลการดําเนินงานและเอกสาร/หลักฐานอ้างอิง ที่ชัดเจน