การแก้ไขการเขียนของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินด้วยวิธีผสมผสาน
การสื่อสารของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยินสื่อสารโดยการใช้ภาษามือเป็นภาษาแรก ซึ่ง มีไวยากรณ์แตกต่างจากภาษาไทย ทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสารภาษาไทย (ภาษาที่สอง) ด้านการ เขียน ได้แก่ การเขียนที่ผิดโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาไทย ใช้คำศัพท์ที่แปลกไปจากบริบทจริง ดังนั้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการเขียนของผู้ที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และ ออกแบบโมเดลการแปลภาษาเขียนไทยเป็นภาษาไทยตามหลักไวยากรณ์สำหรับเด็กที่มีความ บกพร่องทางการได้ยิน การศึกษาลักษณะการเขียนของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมาจากการ สังเคราะห์โครงสร้างไวยากรณ์ภาษา และภาษามือจากรูปแบบประโยคที่มาจากรายงานการวิจัยบน ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และการสืบค้นด้วยมือ (Manual System) ทำใน 2 กรณีศึกษา ได้แก่ การ เปรียบเทียบโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษกับโครงสร้างไวยากรณ์ภาษามืออเมริกัน และการ เปรียบเทียบโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาไทยกับโครงสร้างไวยากรณ์ภาษามือไทย จากนั้นออกแบบ โมเดลการแปลภาษาเขียนไทยเป็นภาษาไทยตามหลักไวยากรณ์นำรูปแบบไวยากรณ์ภาษามือไทย มา สังเคราะห์รูปแบบการแปลภาษาจากเอกสารการวิจัยบนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และการสืบค้นด้วยมือ (Manual System) ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการเขียนของเด็กที่มีความบกพร่องเป็นไปตามโครงสร้าง ไวยากรณ์ภาษามือ คือ กรณีศึกษาโครงสร้างไวยากรณ์ภาษาอังกฤษกับภาษามืออเมริกัน พบว่า ลักษณะโครงสร้างไวยากรณ์มีความคล้ายคลึงกัน ส่วนกรณีศึกษาไวยากรณ์ภาษาไทยและภาษามือ ไทย พบว่า ลักษณะโครงสร้างไวยากรณ์มีความแตกต่างกัน แนวทางการออกแบบโมเดลแปลภาษา แบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ การตัดคำภาษาไทย การระบุชนิดของคำ และการแปลภาษา โดยการ แปลภาษาเป็นวิธีการผสมผสานระหว่างการแปลภาษาด้วยกฎทางภาษาศาสตร์และการแปลภาษา ด้วยวิธีทางสถิติ