งานวิจัย การเพิ่มผลผลิตและลดปริมาณไนเตรตในผักขมด้วยมูลจิ้งหรีด ที่ใช้ร่วมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา


การเพิ่มผลผลิตและลดปริมาณไนเตรตในผักขมด้วยมูลจิ้งหรีด ที่ใช้ร่วมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา

การศึกษานี้มีวัตถุเพื่อประเมินอิทธิพลของอัตราการใช้มูลจิ้งหรีดที่ใช้ร่วมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดาต่อสถานะของไนโตรเจนในดินและพืช และการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช วัสดุปรับปรุงดินที่ใช้ในการศึกษามี 5 ชนิด ประกอบด้วย ไม่ใส่สารปรับปรุงดิน ปุ๋ยเคมี และมูลจิ้งหรีดอัตรา 0.5, 1 และ 2 ตัน/ไร่ ที่ใช้ร่วมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา โดยใช้ผักโขม (Amaranthus tricolor) เป็นพืชทดสอบเพราะเป็นผักที่มีการบริโภคมากและมีการสะสมไนเตรตสูง พบว่ามูลจิ้งหรีดทุกอัตราทั้งที่ไม่ใช้ร่วมและร่วมกับสารสกัดสะเดาทำให้ผักโขมมีผลผลิตน้ำหนักสดมากกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี การเพิ่มอัตรามูลจิ้งหรีดจาก 0.5 เป็น 1 ตัน/ไร่ ทำให้ผลผลิตของผักโขมเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเพิ่มมูลจิ้งหรีดเป็น 2 ตัน/ไร่ กลับทำให้ผลผลิตของผักโขมลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับอัตรามูลจิ้งหรีดที่ต่ำกว่า อัตราที่เหมาะสมของมูลจิ้งหรีดที่แนะนำสำหรับการปลูกผักโขมคือ 1 ตัน/ไร่ การยับยั้งไนตริฟิเคชั่นในดินและการลดลงของไนเตรตในผักโขมพบแต่เพียงในดินที่ใช้ปุ๋ยเคมีเท่านั้น การเสื่อมสภาพโดยกระบวนการไฮโดรไลซีสและโดยจุลินทรีย์ของ azadirachtin ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญที่ทำหน้าที่เป็นตัวยับยั้งไนตริฟิเคชั่นอาจเป็นสาเหตุของการไร้ประสิทธิภาพของสารสกัดจากเมล็ดสะเดาเมื่อใช้ในดินที่มีมูลจิ้งหรีด

ทุนวิจัยงบรายได้
เทคโนโลยีการเกษตร
พืชศาสตร์
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
สัตว์เศรษฐกิจ
สารต้านโภชนาการ, ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง, สารยับยั้งไนตริฟิเคชั่นทางธรรมชาติ, ประสิทธิภาพการใช้ไนโตรเจน

เจ้าของผลงาน
สมชาย บุตรนันท์
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
สมชาย บุตรนันท์ . (2564). การเพิ่มผลผลิตและลดปริมาณไนเตรตในผักขมด้วยมูลจิ้งหรีด ที่ใช้ร่วมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดา. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.