งานวิจัย การศึกษาประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งแบบแกนตั้ง กรณีศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


การศึกษาประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งแบบแกนตั้ง กรณีศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

"งานวิจัยเรื่องการศึกษาประสิทธิภาพของเซลล์แสงอาทิตย์แบบแกนตั้ง กรณีศึกษา คณะเทคโนโลยี อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและศึกษาความเหมาะสม และ เพื่อหาประสิทธิภาพความเหมาะสมการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ แบบแกนตั้ง จากการวิเคราะห์ผลจากการ ทดลองการวางแผงโซล่าเซลล์ทำมุม 90 องศา ทั้งหมด 4 ทิศ คือ ทิศตะวันตก ทิศตะวันออก ทิศเหนือ และทิศใต้ เป็นการเก็บข้อมูล 3 ฤดู โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนมกราคม (ฤดูหนาว) เดือนเมษายน (ฤดูร้อน) และเดือนพฤษภาคม (ฤดูฝน) สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้ ผลการผลิตไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ทั้ง 3 ฤดู พบว่า การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ทำมุม 90 องศา ทิศตะวันตก ฤดูร้อน ผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด คือ 21.11 กิโลวัตต์ฮาวต่อตารางเมตร การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ ทำมุม 90 องศา ทิศตะวันออก ฤดูร้อน ผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด คือ 23.10 กิโลวัตต์ฮาวต่อตารางเมตร การ ติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ทำมุม 90 องศา ทิศเหนือ ฤดูฝน ผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด คือ 14.99 กิโลวัตต์ฮาวต่อ ตารางเมตร และการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ทำมุม 90 องศา ทิศเหนือ ฤดูหนาว ผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด คือ 38.76 กิโลวัตต์ฮาวต่อตารางเมตร จากผลดังกล่าวแผงโซล่าเซลล์ที่หันไปทางทิศใต้ ฤดูหนาวมีการผลิต ไฟฟ้าสูงสุด และจากค่าเฉลี่ยโดยรวมพบว่าแผงโซล่าเซลล์ที่หันไปทิศตะวันนอกมีค่าเฉลี่ยสูงสุด 22.42 กิโลวัตต์ฮาวต่อตารางเมตร "

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
วิชาชีพครู
-
-
แกนตั้ง,โซล่าเซลล์,ติดผนัง

เจ้าของผลงาน
อาจารย์รณยุทธ นนท์พละ
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์รณยุทธ นนท์พละ . (2563). การศึกษาประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์ติดตั้งแบบแกนตั้ง กรณีศึกษา คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.