การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสด้วยการประยุกต์ใช้ทักษะการใช้ภาษาไทยผ่านกิจกรรม Frayer Model
งานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนขยายโอกาสด้วยการประยุกต์ใช้ทักษะการใช้ภาษาไทยผ่านกิจกรรม Frayer Model มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ร่วมกับการพัฒนาทักษะ การใช้ภาษาไทยโดยใช้กิจกรรม Frayer Model พัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียน ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ร่วมกับการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยโดยใช้กิจกรรม Frayer Model ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรม Frayer model สามารถพัฒนากระบวนการสอนวิทยาศาสตร์ได้ คะแนนเก็บของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำที่ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม เป็นไปในทาง ที่ดีขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 ระดับชั้น คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยกำหนดที่เกณฑ์ E1/E2 = 75/75 พบว่า ค่าประสิทธิภาพกระบวนการจัดการเรียนรู้ มีค่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรม Frayer Model สามารถพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยของนักเรียนในรายวิชาวิทยาศาสตร์ได้ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบก่อนเรียน – หลังเรียน เท่ากับ 7.72 และ 11.14 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 38.61 และ 55.69 ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.17 และ 2.50 ค่า E2 มีค่าเท่ากับร้อยละ 55.69 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบก่อนเรียน – หลังเรียนมีค่าเท่ากับ 7.86 และ 13.45 คะแนน จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 39.28 และ 67.26 ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของข้อมูลคะแนนสอบก่อนเรียน – หลังเรียนมีค่าเท่ากับ 5.87 และ 5.60 ค่า E2 มีค่าเท่ากับร้อยละ 33.63 ซึ่งน้อยกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 75.00 ค่า tคำนวณ มีค่าน้อยกว่า tα จะยอมรับสมมติฐานรอง หมายความว่า เกิดการพัฒนากระบวนการสอนโดยใช้ Frayer Model