งานวิจัย ผลของสารรีดิวซ์และสารออกซิไดส์ที่มีต่อสมบัติของสีย้อมครามธรรมชาติในกระบวนการ ย้อมผ้าฝ้าย


ผลของสารรีดิวซ์และสารออกซิไดส์ที่มีต่อสมบัติของสีย้อมครามธรรมชาติในกระบวนการ ย้อมผ้าฝ้าย

ในงานวิจัยนี้ศึกษาการรีดิวซ์ และการออกซิไดส์อินดิโกในกระบวนการย้อมสีครามบนผ้าฝ้าย พบว่าในกระบวนการรีดิวซ์การใช้โซเดียมไดไธโอไนท์ ใช้เวลารีดิวซ์อินดิโกไปเป็นลิวโค-อินดิโกน้อยที่สุด ประมาณ 30 นาที ผ้าฝ้ายหลังย้อมมีเฉดสีน้ำเงิน ค่าความเข้มสี ความสว่าง และความสดใส มากที่สุด รองลงมาคือการใช้กล้วยน้ำว้าสุกใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง และวิธีชุมชนใช้เวลาประมาณ 18 ชั่วโมง ทั้ง สองวิธีให้ผ้าฝ้ายหลังย้อมมีเฉดสีน้ำเงินเขียว ค่าความเข้มสี ความสว่าง และความสดใส มีค่าน้อยลง ตามลำดับ และในกระบวนการออกซิไดส์ด้วย อากาศ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และน้ำ พบว่าอากาศใช้ เวลาในการออกซิไดส์ลิวโค-อินดิโกบนผ้าฝ้ายไปเป็นอินดิโกมากที่สุด เฉลี่ย 26 นาที สำหรับผ้าผืน และ 282 นาทีสำหรับผ้ามัดย้อม รองลงมาคือ น้ำใช้เวลา 2-3 นาทีสำหรับผ้าผืน และผ้ามัดย้อม และไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ ใช้เวลาในการออกซิไดส์น้อยที่สุด เฉลี่ย 1 นาที สำหรับผ้าผืน และผ้ามัดย้อม คุณสมบัติผ้า ฝ้ายหลังออกซิไดส์ พบว่าอากาศให้ความเข้มสีของผ้าฝ้ายมากที่สุด รองลงมาคือ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และ น้ำ ตามลำดับ ส่วนค่าความสว่าง และความสดใส ให้ผลในทางกลับกัน ในขณะที่ชนิดของตัวออกซิ ไดส์ไม่มีผลต่อเฉดสีของผ้าฝ้าย และในการศึกษาชนิดของผ้าฝ้ายพบว่า ผ้ามัสลิน ให้ความเข้มสี ความสว่าง ความสดใส มากที่สุด รองลงมาคือ ผ้าเมมเบิด ผ้าดิบ ผ้าซันโฟไรท์ และผ้าฝ้านผสมไนลอน ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการเลือกใช้วิธีการรีดิวซ์ และออกซิไดส์ ในกระบวนการย้อมสีครามต้องขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ และความเหมาะสมในการใช้งาน

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
-
-
การรีดิวซ์, การออกซิไดส์, อินดิโก, ลิวโค-อินดิโก, ผ้าฝ้าย, ผ้ามัดย้อม

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร.สุดกมล ลาโสภา
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร.สุดกมล ลาโสภา . (2563). ผลของสารรีดิวซ์และสารออกซิไดส์ที่มีต่อสมบัติของสีย้อมครามธรรมชาติในกระบวนการ ย้อมผ้าฝ้าย. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ผศ.ดร.สุดกมล ลาโสภา. (). ผลของสารรีดิวซ์และสารออกซิไดส์ที่มีต่อสมบัติของสีย้อมครามธรรมชาติในกระบวนการ ย้อมผ้าฝ้าย. การประชุมสวนสุนันทาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับชาติ ครั้งที่ 2 "วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน() , .