งานวิจัย การศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพน้ำยาทำความสะอาดเอนกประสงค์จากน้ำหมักชีวภาพเพื่อสร้างรายได้และลดขยะอินทรีย์ให้กับชุมชน


การศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพน้ำยาทำความสะอาดเอนกประสงค์จากน้ำหมักชีวภาพเพื่อสร้างรายได้และลดขยะอินทรีย์ให้กับชุมชน

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราส่วนเหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดอเนกประสงค์รักษ์สิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพใกล้เคียงกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสบู่เหลว 1403-2551 (มอก.1403-2551) และถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน ในการทดลองได้ทำการศึกษาผลของตัวแปรปฏิกิริยาเช่นน้ำมันที่ใช้ต่ออัตราส่วนน้ำหนักน้ำมันปาล์ม, KOH และปรับค่าความเป็นกรดด่างของผลิตภัณฑ์ด้วยน้ำหมักชีวภาพจากมะนาว ผลการศึกษาพบว่าอัตราส่วนระหว่างน้ำมันที่ใช้แล้วต่อน้ำมันถั่วเหลืองที่เหมาะสมคือ 70:30 ของและค่าสะพอนิฟิเคชันเท่ากับ 20.13 มก. KOH/g สภาวะดังกล่าวทำให้ปริมาณด่างอิสระและปริมาณไขมันทั้งหมดต่ำคือ 0.026 และ 0.622 ตามลำดับ ค่าความเป็นกรดด่าง เท่ากับ 10.7 ค่าความหนืดคือ 50.41 x 10-3 Pa•s ซึ่งใกล้กับน้ำยาทำความสะอาดเชิงพาณิชย์ที่ 58.90 x 10-3 Pa•s ปริมาณฟอง 330 มิลลิลิตร ความคงตัวของฟอง 30 มิลลิลิตร ประสิทธิภาพการล้างออก 200 มิลลิลิตรการทดสอบภายใต้กระบวนการของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย 1403-2551 น้ำยาทำความสะอาดมาตรฐานคือมีเปอร์เซ็นต์ของด่างอิสระและปริมาณไขมันทั้งหมดเกิน 0.05 และ 15 ตามลำดับซึ่งแสดงถึงคุณภาพที่ดี นอกจากนี้น้ำยาทำความสะอาดยังแสดงให้เห็นถึงคุณสมบัติทางกายภาพที่มีส่วนผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน การประเมินความพึงพอใจได้ผลเป็นที่น่าพอใจในภาพรวม

ทุนวิจัยงบรายได้
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
วิชาชีพครู
-
-
น้ำหมักชีวภาพ; ปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน; สารทำความสะอาด; สบู่; น้ำมันถั่วเหลือง

เจ้าของผลงาน
อาจารย์ ดร.อมรรัตน์ แท่งทอง
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์ ดร.อมรรัตน์ แท่งทอง . (2563). การศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพน้ำยาทำความสะอาดเอนกประสงค์จากน้ำหมักชีวภาพเพื่อสร้างรายได้และลดขยะอินทรีย์ให้กับชุมชน. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.