งานวิจัย การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพครูประจำการในการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยที่บูรณาการศาสตร์พระราชา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตจังหวัดสกลนคร


การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพครูประจำการในการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยที่บูรณาการศาสตร์พระราชา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตจังหวัดสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมและศึกษาผลของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพครูประจำการในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยที่ บูรณาการศาสตร์พระราชา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตจังหวัดสกลนคร กลุ่มเป้าหมายเป็น ครูประจำการในโรงเรียนขนาดเล็ก ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 15 คน ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R & D) โดยดำเนินการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การสร้างหลักสูตร ขั้นที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร และขั้นที่ 4 การประเมินผลการปรับปรุงหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรม แบบบันทึกการเรียนรู้ และแบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ที่ผ่านการหาคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว และคณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพครูประจำการในการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยที่บูรณาการศาสตร์พระราชา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตจังหวัดสกลนคร จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ผลการเรียนรู้ศาสตร์พระราชากับการศึกษา การจัดการเรียนรู้ร่วมสมัย และการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม มาออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมเป็น 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาสาระของหลักสูตร วิธีการฝึกอบรม สื่อประกอบการฝึกอบรม การประเมินผลหลักสูตร จากนั้นนำหลักสูตรฝึกอบรมที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมของแต่ละองค์ประกอบ มีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.00 - 5.00) ถือว่าหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพครูประจำการตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยที่บูรณาการศาสตร์พระราชาในการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นผ่านเกณฑ์และสามารถนำไปใช้ได้ ) ผลของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพครูประจำการในการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยที่บูรณาการศาสตร์พระราชา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตจังหวัดสกลนคร 2 ประเด็นคือ 1) ความรู้ ความเข้าใจของครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยที่บูรณาการศาสตร์พระราชา ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบบันทึกการเรียนรู้ พบว่า สิ่งที่ผู้เข้าอบรมรู้แล้วเป็นหัวข้อของศาสตร์พระราชา เศรษฐกิจพอเพียง การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และความเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในชีวิตประจำวัน เช่น พื้นฐานเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ การทำงาน ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมที่มีผลมาจากความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีคาดหวังว่า อยากได้ความรู้อย่างลึกซึ้งในเรื่องศาสตร์พระราชาและสามารถนำไปบูรณาการใช้กับบริบทของชุมชน แนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยบูรณาการศาสตร์พระราชาในการจัดการเรียนการสอนลงสู่ผู้เรียน แนวทางในการจัดการเรียนรู้และทักษะการสอนในแบบของศาสตร์พระราชา การนำหลักที่ถูกต้องมาบูรณาการให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นต้น ซึ่งหลังจากที่ผ่านการอบรมในครั้งนี้แล้ว ความรู้ ความเข้าใจของผู้เข้าอบรมมีมากขึ้นคือ ด้านความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชา ด้านการจัดทำหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ 2) คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่ครูพัฒนาขึ้นตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยที่บูรณาการศาสตร์พระราชาในการจัดการเรียนรู้ จากการจัดอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนี้ ทั้งหมด 15 แผนการจัดการเรียนรู้ ยังไม่ผ่านตามเกณฑ์การประเมินจากแบบประเมินคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้

ทุนวิจัยงบรายได้
ครุศาสตร์
หลักสูตรและการสอน
-
-
การบูรณาการศาสตร์พระราชา, แนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัย, หลักสูตรฝึกอบรม

เจ้าของผลงาน
อาจารย์เพ็ญผกา ปัญจนะ
อาจารย์รักทรัพย์ แสนสำแดง

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์เพ็ญผกา ปัญจนะ เเละ อาจารย์รักทรัพย์ แสนสำแดง . (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพครูประจำการในการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยที่บูรณาการศาสตร์พระราชา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตจังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อาจารย์เพ็ญผกา ปัญจนะ. (). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพครูประจำการในการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยที่บูรณาการศาสตร์พระราชา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ในเขตจังหวัดสกลนคร. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร() , .