งานวิจัย ผลกระทบสื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยในศตวรรษ ที่ 21


ผลกระทบสื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยในศตวรรษ ที่ 21

งานวิจัยเรื่อง ผลกระทบสื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 มี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ประชากรในการวิจัยคือเด็กปฐมวัยโรงเรียนวิถีธรรมแห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จํานวน 80 คน โดยเก็บ ข้อมูลกับประชากรทั้งหมด ผู้ศึกษาได้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสํารวจ (Survey Research) โดยมีเครื่องมือในการ วิจัยคือแบบสอบถาม (Questionnaire) ใช้สถิติในการวิจัยประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การทดสอบไคสแควร์ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 57.50 อายุ 5 ปี ร้อยละ 45.00 อายุ 3 ปี ร้อยละ 27.50 อายุ 4 ปี ร้อยละ 20.00 อยู่ในชั้นอนุบาล 3 มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 46.25 มีระยะเวลาในการ ใช้สื่อสังคมออนไลน์ 1 ชั่วโมง มีจํานวนมากที่สุด ร้อยละ 47.50 โดยมีช่วงเวลาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ใน ระหว่างรอผู้ปกครองมากที่สุด ร้อยละ 32.50 ใช้สมาร์ทโฟนเป็นหลักและเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์คือยูทูปใน ระดับมาก เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก ระยะเวลาที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกันจะมี พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านสังคม พัฒนาการด้านสติปัญญาที่แตกต่างกัน ส่วนการใช้สื่อสังคม ออนไลน์ในช่วงเวลาที่แตกต่างกันจะมีพัฒนาการด้านร่างกายที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาด้านร่างกาย เขียนในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย = 0.328 (สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้) และ ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาด้านอารมณ์เขียนในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ พัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กปฐมวัย = – 0.443 (อุปกรณ์ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์) + 0.313 (สื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้)

ทุนวิจัยงบรายได้
เทคโนโลยีการเกษตร
นิเทศศาสตร์
สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์
-
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย,สื่อสังคมออนไลน์,ปัจจัยที่ส่งผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย

เจ้าของผลงาน
อาจารย์์ลฎาภา ศรีพสุดา
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
อาจารย์์ลฎาภา ศรีพสุดา . (2562). ผลกระทบสื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยในศตวรรษ ที่ 21. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.