การพัฒนาห้องสมุดคณะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยยึดรูปแบบการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี
"การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานประจำด้วยการพัฒนาห้องสมุดคณะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โดยยึดรูปแบบการพัฒนาห้องสมุด 3 ดี คือ หนังสือดี บรรยากาศดี บรรณารักษ์ดี การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา และบุคลากรที่เข้ามาใช้บริการในห้องสมุดประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2560 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2561 จำนวน 200 คน โดยผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามทั้งหมด200 ชุด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ สามารถนำมาวิเคราะห์ได้ จำนวน 126 ชุด คิดเป็นร้อยละ 63 ของแบบสอบถามที่แจกไปทั้งหมด จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์หาค่าสถิติทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัย ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ53.96) สังกัดสาขาวิชานิติศาสตร์ (ร้อยละ23.68) เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการใช้บริการห้องสมุดประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ฯแล้ว พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้บริการห้องสมุดเพื่อบริการยืมคืน (ร้อยละ91.26) ความถี่ในการใช้บริการส่วนใหญ่เข้าใช้บริการสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (ร้อยละ54.76) ช่วงเวลาในการของการเข้าใช้บริการห้องสมุดส่วนใหญ่จะมาใช้บริการในช่วงเวลา 12.00 –13.00 น. (ร้อยละ50.87) สำหรับความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดทั้ง 3 ด้าน (หนังสือดีบรรยากาศดี และบรรณารักษ์ดี) นั้น พบว่าส่วนใหญ่พึงพอใจในทั้ง 3 ด้าน มีคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับข้อเสนอแนะที่ห้องสมุดควรนำมาพิจารณาปรับปรุงในการให้บริการแบ่งเป็น 3ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหนังสือดี ควรจัดหาหนังสือใหม่ๆมาไว้บริการ 2) ด้านบรรยากาศดี ซึ่งบรรยากาศภายในห้องสมุดโดยรวมแล้วดีมากที่สุดแต่เพียงอยากให้เพิ่มเติมสถานที่การนั่งอ่าน นั่งทำงานเพิ่มขึ้นเพราะห้องสมุดมีพื้นที่น้อย มีกระถางต้นไม้เพื่อบรรยากาศที่ดีขึ้น 3) ด้านบรรณารักษ์ ได้แก่ บรรณารักษ์ยังให้ข้อมูลด้านการยืมคืน ระหว่างห้องสมุดได้ดีเท่าไหร่ การให้บริการยังเป็นระบบแมนนวล ควรเปลี่ยนเป็นระบบอัตโนมัติ การค้นหาทรัพยากรภายในห้องสมุดควรเป็นระบบอัตโนมัติ และอยากให้มีเฟสบุคของห้องสมุดเพื่อสมาชิกจะได้สอบถาม และเข้าถึงทรัพยากรห้องสมุดได้ง่ายขึ้นสามารถสอบถามบรรณารักษ์ได้สะดวกขึ้น และ 4) ด้านอื่นๆ ผู้เข้าใช้บริการบ่ายๆอยากได้รับรางวัลผู้ยืมหนังสือดีเด่นบ้าง "