งานวิจัย การพัฒนาครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดสะเต็มศึกษา( STEM Education) ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : The Development for Early Childhood Teachers in The 21st Century By The STEM Education


การพัฒนาครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดสะเต็มศึกษา( STEM Education) ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : The Development for Early Childhood Teachers in The 21st Century By The STEM Education

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของครูปฐมวัย 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาครูปฐมวัย 3) สร้างและพัฒนารูปแบบอบรมครูปฐมวัย และ4) ประเมินรูปแบบด้วยการฝึกอบรมครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในการจัดประสบการณ์ตามแนวสะเต็มศึกษา การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของครูปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างคือ ครูปฐมวัย จำนวน 50 คน ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางการพัฒนาครูปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ระยะที่ 3 พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ระยะที่ 4 การพัฒนาครูปฐมวัยด้วยหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูปฐมวัย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการของครูปฐมวัย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง หลักสูตรอบรมเพื่อพัฒนาครูปฐมวัย แบบทดสอบวัดความรู้ ความเข้าใจ แบบสังเกตทักษะการปฏิบัติกิจกรรมและแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดประสบการณ์ตามแนวสะเต็มศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละและการทดสอบค่า (t-test dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัญหาของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในการจัดประสบการณ์ตามแนวสะเต็มศึกษา พบว่า สภาพปัญหาของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม มีสภาพปัญหาระดับมาก และความต้องการของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในการจัดประสบการณ์ตามแนวสะเต็มศึกษา พบว่าโดยภาพรวมมีความต้องการในการพัฒนาตนเอง ระดับมากที่สุด 2. แนวทางการพัฒนาครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 พบว่าประเด็นที่ใช้ศึกษาแนวทางมี 6 ประเด็น ดังนี้ 1) ด้านการบริหารจัดการในโรงเรียน 2) ด้านคุณลักษณะของครูปฐมวัย 3) ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก 4) ด้านสื่อการเรียนการสอน 5) ด้านการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก และ6) ด้านความต้องการของครูปฐมวัย 3. รูปแบบการพัฒนาด้วยการฝึกอบรมครูปฐมวัยโดยใช้หลักสูตร ผู้วิจัยได้ดำเนินการพัฒนา 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งในขั้นตอนนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาจากการสำรวจสภาพปัญหา ความต้องการและแนวทางการพัฒนาครูปฐมวัย ในระยะที่ 1 และ 2 พบว่า ครูปฐมวัยโดยส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจ ทักษะความสามารถในการจัดกิจกรรมตามแนวสะเต็มศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรอบรม ผู้วิจัยศึกษาองค์ประกอบของหลักสูตรฝึกอบรมครู ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล 2) จุดมุ่งหมายของการฝึกอบรม 3) โครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรม 4) เนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรม 5) กิจกรรมการฝึกอบรม และ6) การวัดผลและประเมินผล และขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร ผู้วิจัยได้ศึกษา ความรู้ ความเข้า ทักษะการปฏิบัติกิจกรรม และความพึงพอใจต่อหลักสูตร 4. การพัฒนาครูปฐมวัยด้วยหลักสูตรฝึกอบรมครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในการจัดประสบการณ์ตามแนวสะเต็มศึกษา 1) ผลการศึกษาความรู้ ความเข้าใจ ครูปฐมวัย ก่อนและหลังอบรม พบว่า ก่อนอบรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 16.11 คิดเป็นร้อยละ 53.69 และหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 26.21 คิดเป็นร้อยละ 87.38 ดังนั้นคะแนนหลังอบรมสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการศึกษาทักษะการปฏิบัติกิจกรรมของการฝึกอบรมในแต่ละแผนการฝึกอบรม โดยรวมมีระดับทักษะระดับมาก 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อหลักสูตรอบรมเพื่อพัฒนาครูปฐมวัยของผู้เข้าอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
ครุศาสตร์
สังคมศึกษา
สาขาสังคมวิทยา
การศึกษาและสร้างสรรค์การเรียนรู้
การพัฒนาครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21, แนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education)

เจ้าของผลงาน
วันเพ็ญ นันทะศรี
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
วันเพ็ญ นันทะศรี . (2562). การพัฒนาครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 โดยใช้แนวคิดสะเต็มศึกษา( STEM Education) ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ : The Development for Early Childhood Teachers in The 21st Century By The STEM Education. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.