งานวิจัย การวิจัยและพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสกลนคร


การวิจัยและพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสกลนคร

การทุจริตเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่ขัดขวางการพัฒนาประเทศและเป็นประเด็นแรก ๆ ที่ควรให้ความสำคัญในวาระของการพัฒนาของทุกประเทศ องค์กรเพื่อความโปร่งใสนาชาชาติ ได้จัดอันดับดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น ประจำปี 2560 พบว่า ประเทศไทยได้37 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน อยู่อันดับที่ 96 จากทั้งหมด 180 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับ ที่ 5 ในกลุ่มประเทศอาเซียน บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยถูกกล่าวหาว่า กระทำการทุจริต รวมทั้งสิ้น 5,508 เรื่อง มีผู้ถูกกล่าวหา 9,467 ราย โดยหน่วยงานถูกกล่าวหาว่า ทุจริตมากที่สุด คือ เทศบาลตำบล รองลงมาเป็นเทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ตามลำดับ ปัญหาดังกล่าวเกิดจากพฤติกรรมการทำงานใน หน้าที่ของบุคลากรของเทศบาลตำบล ซึ่งอาจมีปัจจัยหรือสาเหตุต่าง ๆ ที่น่าสนใจศึกษาเพื่อเป็น แนวทางในการเสริมสร้างภาพลักษณ์ความโปร่งใสในการดำเนินงานให้กับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ ส่งผลต่อพฤติกรรมความโปร่งใสในการดำเนินงานของขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขต จังหวัดสกลนคร 2. เพื่อศึกษาโมเดลปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสกลนคร และ 3. เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดฝึก อบรมในการเสริมสร้างพฤติกรรมความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดสกลนคร เป็นการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มตัวอย่าง คือ 1. บุคลากรองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสกลนคร จำนวน 400 คน ใช้กลุ่มสุ่มแบบชั้นภูมิ (สำหรับตอบ แบบสอบถาม) 2. ผู้ทรงคุณวุฒิจ านวนวน 12 คน (สำหรับการประชุมกลุ่มย่อย) 3. บุคลากรของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัด จำนวน 20 คน (สำหรับการทดลองใช้ชุดฝึกอบรม) เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบทดสอบ และการประชุมกลุ่มย่อย ผู้วิจัยพบผลดังนี้ 1. พฤติกรรมความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขต จังหวัดสกลนคร มี 6 ประกอบ ได้แก่ การจัดซื้อจัดจ้าง การเปิดเผยข้อมูล การบริหารงานบุคคล โครงสร้างการบริหารและอำนาจหน้าที่ การบริการประชาชน และการบริหารงบประมาณ ตามลำดับ ส่วนปัจจัยเป็นเงื่อนไขของพฤติกรรมความโปร่งใสในการดำเนินงาน คือ ความรู้ เกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินงาน ภาวะผู้นำของผู้บริหาร วัฒนธรรมองค์การ การบริหาร แบบมีส่วนร่วม ตามลำดับ 2. โมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสกลนครมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนประกอบด้วย χ2= 692.282, df= 356, P-Value = 0.000, CFI =0.934, TLI= 0.920, SRMR= 0.043, RMSEA=0.073 และ χ2/df = 1.944 และ ทุกตัวแปรมีค่าความเชื่อมั่นเชิงโครงสร้าง (construct reliability :) ระหว่าง 0.965-0.998 (2)5สูงกว่าเกณฑ์ (0.60) และมีค่าความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) เป็นไปตาม เกณฑ์ที่กำหนด3. ตัวบ่งชี้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง 0.104-0.970 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ทุกตัว ค่าความแปรปรวนส่วนที่เหลือ (Residual) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.066-1.372 และมีค่าความเที่ยงตรง (R2) ของสมการโครงสร้างความโปร่งใสในการด าเนินงาน เท่ากับ 0.659 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และตัวแปรแฝงส่วนใหญ่ในโมเดลมีนัยสำคัญทางบวกที่ระดับนัยสำคัญ .01 ตัวแปรที่มีส่งผลต่อพฤติกรรมความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสกลนครมากที่สุด คือ วัฒนธรรมองค์การ (0.732**) รองลงมาคือภาวะผู้นำของผู้บริหาร (0.704**) และการบริหารแบบมีส่วนร่วม (0.440**) ตามลำดับ และตัวแปรทุกตัวในโมเดลร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมความโปร่งใสในการดำเนินงานได้ร้อยละ 65.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และพบว่า หลังการอบรม ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ทุนวิจัยงบแผ่นดิน
วิทยาการจัดการ
รัฐประศาสนศาสตร์
สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
มนุษยศาสตร์
ดฝึกอบรม, ความโปร่งใส

เจ้าของผลงาน
ผศ.ดร.สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง
ชาติชัย อุดมกิจมงคล

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ผศ.ดร.สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง เเละ ชาติชัย อุดมกิจมงคล . (2562). การวิจัยและพัฒนาชุดฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความโปร่งใสในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.