งานวิจัย โครงการวิจัยการพัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


โครงการวิจัยการพัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

การพัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระบบและกลไกการสนับสนุนงานวิจัยที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) เพื่อศึกษาระบบและกลไกการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของภาคีเครือข่ายในสถาบันอุดมศึกษาของภาคอีสาน 3) เพื่อออกแบบระบบและกลไกในการสนับสนุน การติดตาม การดำเนินงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ 4) เพื่อพัฒนาศักยภาพ ระบบและกลไกการสนับสนุน และติดตาม การดำเนินงานการวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยมีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านกระบวนวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ 1) การถอดบทเรียนจากกิจกรรม 2) การประชุมกลุ่มย่อย 3) การใช้แบบสัมภาษณ์/แบบสังเกต/แบบบันทึกข้อมูล และ 4) การบันทึกเสียง บันทึกภาพ และบันทึกวิดีโอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา มี 3 กลุ่ม คือ คือ 1) ผู้บริหารและบุคลากร สถาบันวิจัยและพัฒนา (ทีมระบบและกลไกกลาง) มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) คณาจารย์ นักวิจัย ที่สังกัดของคณะต่าง ๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ 3) นักวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในท้องถิ่น พื้นที่โครงการวิจัย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ผลการศึกษา พบว่า 1) เกิดนักวิจัยเพื่อท้องถิ่น จากการวางระบบการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 107 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และนักวิจัยชาวบ้าน ในพื้นที่อำเภอ เต่างอยจังหวัดสกลนคร ที่ผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) เกิดองค์ความรู้ ทักษะ ด้านการพัฒนาระบบและกลไกการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นที่ฝังอยู่ในตัวของนักวิจัย (ทีมระบบและกลไกกลาง) สถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อการขับเคลื่อนงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 3) เกิดระบบและกลไกที่เป็นรูปแบบแนวทางที่เป็นรูปธรรมซึ่งเป็นระบบในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ 4) เกิดโครงการวิจัยเพื่อ ท้องถิ่นที่สามารถตอบโจทย์ชุมชนท้องถิ่น ของอำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร และตอบโจทย์การเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จำนวน 6 โครงการวิจัย ได้แก่ (1) โครงการวิจัย “การพัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร” (2) โครงการวิจัย “การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรที่เหมาะสมกับพืชฤดูแล้งโดยการมีส่วนร่วมของเกษตรกรและภาคีเครือข่ายในเขตพื้นที่ชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ” (3) โครงการวิจัย “รูปแบบการพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการชุมชนของตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร” (4) โครงการวิจัย “การฟื้นฟูภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายตำบลนาตาล อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร” (5) โครงการวิจัย “กระบวนการจัดการเรียนรู้เพื่อป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับโดยการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับภาคีเครือข่ายในเขตบ้านนาอ่างและบ้านอ่างคำ ตำบลนาตาล อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร” และ (6) กระบวนการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าผลิตภัณฑ์มะเขือเทศโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านนางอย ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร จากผลการดำเนินงานขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครจะสามารถนำข้อมูลดังกล่าววางแนวทาง การบูรณาการ 7 in 1 ในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อการยกระดับการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครให้มีประสิทธิภาพต่อไป

ทุนวิจัยเพื่อท้องถิ่น
สถาบันวิจัยและพัฒนา
-
-
มนุษยศาสตร์
ระบบและกลไก, งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น

เจ้าของผลงาน
กาญจนา วงษ์สวัสดิ์
ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง, ละมัย ร่มเย็น, พัทธนันท์ ชมภูนุช, แสนสุรีย์ เชื้อวังคำ, ศักดิ์ดา แสนสุพรรณ, อัสฉรา นามไธสง, วิภาวรรณ ใหญ่สมบูรณ์

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
กาญจนา วงษ์สวัสดิ์ ,ปทุมทิพย์ ม่านโคกสูง, ละมัย ร่มเย็น, พัทธนันท์ ชมภูนุช, แสนสุรีย์ เชื้อวังคำ, ศักดิ์ดา แสนสุพรรณ, อัสฉรา นามไธสง เเละ วิภาวรรณ ใหญ่สมบูรณ์ . (2560). โครงการวิจัยการพัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
กาญจนา วงษ์สวัสดิ์. (2561). โครงการวิจัยการพัฒนาระบบและกลไกการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. งานประชุมวิชาการระดับนานาชาติและระดับชาติราชภัฏวิจัยครั้งที่5() , 540-546.