งานวิจัย การศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เขตพื้นที่ป่าต้นน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร


การศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เขตพื้นที่ป่าต้นน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร

การวิจัยครั้งนี้เป็นโครงการวิจัยต่อเนื่อง ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research Methods) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการป่าต้นน้ำอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีผลต่อความมั่นคงทางอาหาร และวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหารภายใต้การจัดการพื้นที่ป่าต้นน้ำอย่างมีส่วนร่วม เพื่อนำไปสู่การขยายผลการจัดการพื้นที่ป่าต้นน้ำอื่นต่อไป พื้นที่การวิจัยเลือกแบบเจาะจง เนื่องเป็นโครงการวิจัยต่อเนื่อง บริเวณเขตพื้นที่ป่าต้นน้ำหนองหาร “ลำน้ำพุง” อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร จำนวนพื้นที่เป้าหมาย 5 หมู่บ้านเรียกว่า “ชุมชนหลุบเลา” ซึ่งมีการใช้ทรัพยากรป่าไม้ร่วมกัน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลักคือ 1) สำรวจ/รวบรวมข้อมูลพื้นที่เป้าหมาย เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการป่าอย่างมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางด้านอาหารเขตพื้นที่ป่าต้นน้ำ โดยศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานบุคคลที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ และเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยหรือตัวชี้วัดความมั่นคงทางด้านอาหารระดับครัวเรือน/ชุมชน 2)จัดเวทีประชุมเพื่อหารือแนวทางการจัดการป่าอย่างมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับพื้นที่จำนวน 3 ครั้ง เพื่อนำไปสู่การขยายผลระดับชุมชนและพื้นที่อื่นต่อไป

ทุนวิจัยสกอ
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
สังคมศึกษา
สาขาสังคมวิทยา
มนุษยศาสตร์
การมีส่วนร่วมของชุมชน , การจัดการป่า , ความมั่นคงทางอาหาร

เจ้าของผลงาน
ภัชราภรณ์ สาคำ
-

เอกสาร

บรรณานุกรม APA
ภัชราภรณ์ สาคำ . (2560). การศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เขตพื้นที่ป่าต้นน้ำหนองหาร จังหวัดสกลนคร. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.